โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติงาน ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลักสูตรพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีและดิจิทัลแก่ข้าราชการยุคใหม่ จชต. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562


13 June 2562
389

โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากร

ที่ปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

หลักสูตรพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีและดิจิทัล

แก่ข้าราชการยุคใหม่ จชต. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562

หลักการและเหตุผล

       ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และข้อมูลดังคำกล่าวของแจ๊ค หม่า ผู้ก่อตั้ง Alibaba กลุ่มธุรกิจ E-Commerce ที่ว่า “อีก 30 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคของเทคโนโลยีการขายรูปแบบใหม่ กระบวนการผลิต และระบบการเงินแบบใหม่ และจะเป็นสังคมที่ไม่ได้เดินด้วยพลังงาน แต่จะดำเนินการด้วยข้อมูล (Data)” เมื่อโลกมีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป องค์กรจำเป็นต้องมีความเข้าใจแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อจะทำให้สามารถกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก การพัฒนาของเทคโนโลยีและสถานการณ์ที่น่ากังวลทางสิ่งแวดล้อมล้วนส่งผลให้พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นปัจจัยใหม่ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ธุรกิจและการทำงานรูปแบบใหม่ (บทความ“UN Projects World Population to Reach 8.5 Billion by 2030, Driven by Growth in Developing Countries” จาก un.org) เมื่อมองภาพการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกที่เริ่มเข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลจะไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนการทำงานเฉกเช่นที่ผ่านมาอีกต่อไป หากแต่จะหลอมรวมเข้ากับชีวิตคนอย่างแท้จริงและจะเปลี่ยนโครงสร้างรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเทศไทยจึงเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยการปฏิรูปประเทศไทยสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ (สาระสำคัญแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับนำเสนอคณะรัฐมนตรี 5 เมษายน 2559

       ปัจจุบัน รัฐบาลได้ตระหนักถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทยที่จะปรับปรุงทิศทางการดำเนินงานของประเทศด้วยการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีดิจิทัลนำมาสู่การจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (สาระสำคัญแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับนำเสนอคณะรัฐมนตรี 5 เมษายน 2559) และตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้กำหนดกลุ่มข้าราชการและบุคลากรภาครัฐสำหรับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลออกเป็น 6 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (Executive) กลุ่มผู้อำนวยการกอง (Management) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานนโยบายและงานวิชาการ (Academic) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านบริการ (Service) และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ (Others) จากหลักการและเหตุผลทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หน่วยงานต่างๆจึงมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว สร้างความเชื่อมโยง ลดการใช้ทรัพยากรที่ซ้ำซ้อน และทำให้เกิดการดำเนินงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้มากขึ้น แต่ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐขาดทักษะด้านดิจิทัลที่นำไปสู่การคิดเชิงนวัตกรรมและความเข้าใจในกระบวนการในการดำเนินงานขาดการวางแผนที่ต้องการความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) กับภารกิจในด้านต่างๆขององค์กร (Business)เป็นผลให้เกิดความล้มเหลวในหลายๆด้าน อาทิ ด้านความคุ้มค่าในการบริหารงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้ที่ไม่สามารถตอบโจทย์ Business Vision ขององค์กร

      เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ตามหลักการและเหตุผลดังกล่าว ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ (Thailand Digital Government Academy: TDGA) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ซึ่งมีภารกิจในการดำเนินการฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับบุคลากรหน่วยงานภาครัฐและส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐปรับเปลี่ยนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล จึงได้จัดโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น โดยหลักสูตรนี้ออกแบบเพื่อให้บุคลากรของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนองค์กรเป็นองค์กรดิจิทัล ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ กระบวนการปฏิบัติงานและการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การสร้างมาตรฐานของข้อมูล การสร้างเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนหน่วยงานภาครัฐบนพื้นฐานของความมั่นคงปลอดภัย และขับเคลื่อนให้หน่วยงานให้สามารถดำเนินการตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าถึงประชาชนอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสังคมดิจิทัลหรือสังคมไร้กระดาษอย่างแท้จริง

เอกสารแนบ

1

sigma1

10 ครั้ง
2

แบบสำรวจข้อมูล

2 ครั้ง
3

High Level Architect Template_for print

5 ครั้ง
4

รวม Template rev.2

1 ครั้ง
5

sigma

1 ครั้ง
6
7
8
9

AI

1 ครั้ง
10
11

block chain

2 ครั้ง
12

ประวัติการทำงาน

1 ครั้ง
13

แบบสำรวจข้อมูล1

0 ครั้ง
14

ตำแหน่ง

0 ครั้ง
15
16

เอกสาร (4)

1 ครั้ง
17
18