การแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริต


10 April 2565
6687
การแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน (whistleblowing)
  • การแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
  • ข้อมูลผู้แจ้งเบาะแส/เรื่องร้องเรียน

การแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (“สพร.”) ยึดมั่นในการดำเนินงานภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมคุณธรรม สร้างจิตสำนึกและค่านิยมที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานจึงได้จัดทำนโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน เพื่อรับแจ้งเบาะแสการทุจริตหรือร้องเรียนในกรณีที่พบเห็นการกระทำผิดหรือสงสัยว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือกฎระเบียบองค์กร รวมถึงผิดจริยธรรมหรือจรรยาบรรณในการดำเนินงานผ่านช่องทางที่กำหนด ดังนี้
1. ติดต่อด้วยตนเองที่ ฝ่ายตรวจสอบภายใน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น 17 เลขที่ 108 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
2. จดหมายหรือเอกสารร้องเรียน ระบุหน้าซองถึง “ประธานกรรมการตรวจสอบ จัดส่งที่ ฝ่ายตรวจสอบภายใน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น 17 เลขที่ 108 ถนนรางนํ้า แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400”
3. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail address): AuditCommittee@dga.or.th
4. เว็บไซต์ https://www.dga.or.th >> การแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียน (https://www.dga.or.th/whistleblowing)

หลักเกณฑ์ในการรับแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียน
1. แจ้งชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และหน่วยงาน(ถ้ามี) ของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน
2. ชื่อ นามสกุล ของผู้ที่ถูกแจ้งเบาะแสหรือผู้ถูกร้องเรียน
3. รายละเอียดข้อเท็จจริงและช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์ พฤติการณ์ หรือการกระทำ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่แจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียน ทั้งนี้ ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนควรระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพออันแสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของ สพร. หรือบุคคลภายนอกอื่นใดที่มีการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นการทุจริต เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบของ สพร. หรือมาตรฐานจริยธรรม
4. รายละเอียดพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนบหลักฐานประกอบ ทั้งนี้ ต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปได้
5. สพร. จะไม่รับแจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียนที่เข้าลักษณะ ดังต่อไปนี้
5.1 เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับ สพร. หรือ เรื่องที่ไม่มีมูลความจริงหรือมีการสร้างขึ้นเพื่อกล่าวหาบุคคลอื่นหรือหน่วยงานต่าง ๆ ให้เกิดความเสียหาย
5.2 เรื่องที่ไม่มีการระบุพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ ที่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปได้
5.3 เรื่องที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว หรือเป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
5.4 เรื่องที่หน่วยงานอื่นได้ดำเนินการตรวจสอบ พิจารณาวินิจฉัย และได้มีข้อสรุปผลการพิจารณาแล้ว เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เป็นต้น
5.5 เรื่องที่ สพร. ได้รับไว้พิจารณาแล้ว หรืออยู่ระหว่างดำเนินการ
5.6 เรื่องที่ สพร. ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้วและไม่มีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญเพิ่มเติม

นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของ สพร. ในการพิจารณาการรับแจ้งเบาะแสหรือการรับเรื่องร้องเรียน
ทั้งนี้ สพร. ได้กำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าจะได้รับการคุ้มครองสิทธิและข้อมูลจะถูกปกปิดเป็นความลับ โดย สพร. จะไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ที่สามารถระบุตัวตนของผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเก็บไว้เป็นความลับตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ สพร. จะดำเนินการอย่างระมัดระวังเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนหาข้อเท็จจริง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ความเสียหายและผลกระทบต่อผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ

เข้าใจและยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน

**ทั้งนี้ การพิจารณาและสรุปข้อเท็จจริงเบื้องต้น จะใช้ระยะเวลาประมาณ 60 วัน ขึ้นอยู่กับข้อมูล หลักฐาน และความซับซ้อนในการหาข้อเท็จจริง

ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี

ข้อมูลเชิงสถิติการร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566