กลยุทธ์การบริหารงาน ทรัพยากรบุคคล


18 August 2563
2946

กลยุทธ์การบริหารงานทรัพยากรบุคคลสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

การที่ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) จะสามารถดำเนินการให้บรรลุวิสัยทัศน์ “สพร. เป็นหน่วยงานหลักในการเปลี่ยนผ่านภาครัฐสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล” ได้นั้น “บุคลากร” ถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบในการดำเนินกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ

สพร. ได้กำหนดวิสัยทัศน์ด้านบุคคล (HR Vision) และภาพยุทธศาสตร์การบริหารงานทรัพยากรบุคคลของ สพร. (DGA HR Strategy) ในระยะ  5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ดังต่อไปนี้

กลยุทธ์หลัก (Strategic Focus) ในการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของ สพร.

สพร. มีการกำหนดกลยุทธ์การบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้สอดรับกับเป้าหมายในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานฯ โดย“บุคลากร” ที่มีคุณภาพ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนกลยุทธ์ หลักตามยุทธศาสตร์ที่ 5 นำ สพร. สู่องค์กรดิจิทัล” ภารกิจที่มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาบุคลากร และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้สพร. ขับเคลื่อนการดำเนินงาน และการให้บริการประชาชน ผ่านค่านิยมหลักขององค์กร CHANGE ซึ่งเป็นทิศทางการดำเนินงาน โดยบุคลากรภายใน สพร. ต้องยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ สพร. ให้สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรและมีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการพัฒนาการดำเนินงานต่างด้านทรัพยากรบุคคลให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานให้มีคุณภาพและเสริมสร้างความสุขของเจ้าหน้าที่สพร. โดยสรุปดังนี้

  1. สพร. เป็นองค์กรมหาชนที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานยุคดิจิทัล (Digital Work Life)
  2. บุคลากรของ สพร. มีความคล่องตัวในการทำงานและตัดสินใจ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมการทำงาน
  3. บุคลากรของ สพร. ปรับตัวทันต่อการดำเนินงานตามภารกิจ พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากร และกลยุทธ์บุคคล สพร. (DGA  HR Strategy) มีองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน ได้แก่

Smart Workplace

จัดสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ที่ส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวและสร้างความสุข มีการแลกเปลี่ยน และเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญในเรื่ององค์รวมของความเป็นอยู่ที่ดี (Well-Being) สุขภาพจิตดี (Mental Health) รวมทั้งตอบรับวิถีการทำงานยุคดิจิทัล (Digital Work Life) และประสบการณ์การทำงานแบบดิจิทัล

Smart Leader

พัฒนาผู้นำ สพร. ในทุกระดับให้เป็น “ผู้นำองค์กร” (Enterprise Leaders)  ที่สามารถกำหนดทิศทาง และถ่ายทอดลงไปในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจ ให้ทีมทำงานโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของ สพร. และพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ให้มีผู้นำรุ่นใหม่พร้อมปฏิบัติงานในตำแหน่งสำคัญ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

Smart Workforce

เปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะเจ้าหน้าที่ ทุกระดับในองค์กร โดยเฉพาะการเรียนรู้และการเข้าใจเทคโนโลยี ตลอดจนพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง ผ่าน “การเสริมทักษะใหม่” (Upskill) และ “การเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น” (Reskill)  จัดรูปแบบการพัฒนาหลายช่องทาง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงความรู้ใหม่ ๆ ได้ง่าย ครอบคลุมและหลากหลาย

พื้นฐานสำคัญด้าน HR (HR Foundation)

การปรับปรุงการบริหารจัดการ 4 ด้านของ HR คือ HR Organization, Processes, Competency และ Technology ให้มีความทันสมัย และ เข้าสู่ Digital HR สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานให้มีคุณภาพ และมีความสุข ของเจ้าหน้าที่ สพร.