สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA
Smart Nation Smart Life ประเทศทันสมัย ชีวิตคนไทยก็ง่ายขึ้น
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนแม่บทการพัฒนาพอร์ทัลกลางเพื่อชาวต่างชาติ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) (One Platform for Foreigner Roadmap) ผ่านระบบประชุมออนไลน์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 เพื่อนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้แทนชาวต่างชาติ ไปสู่การยกระดับบริการที่มีความพร้อมรวมถึงสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐสามารถเชื่อมโยงให้เกิดบริการสาธารณะแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว หรือ One-Stop Service (OSS) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและความคาดหวังของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนแม่บทการพัฒนาพอร์ทัลกลางเพื่อชาวต่างชาติ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) (One Platform for Foreigner Roadmap) ผ่านระบบประชุมออนไลน์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 เพื่อนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้แทนชาวต่างชาติ ไปสู่การยกระดับบริการที่มีความพร้อมรวมถึงสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐสามารถเชื่อมโยงให้เกิดบริการสาธารณะแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว หรือ One-Stop Service (OSS) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและความคาดหวังของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19
โดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม พร้อมเล่าให้ฟังถึงประโยชน์ของการมี One Platform for Foreigner ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญเพื่อขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลที่ให้บริการแก่ชาวต่างชาติ ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานต่างชาติ นักธุรกิจ นักลงทุนต่างชาติ นักศึกษาต่างชาติและผู้อยู่อาศัยระยะยาว ได้ใช้บริการภาครัฐได้ง่ายผ่านช่องทางดิจิทัล ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งสามารถขอรับบริการได้ตลอดเวลา ซึ่งความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องได้รับความสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมมือกันเพื่อให้พอร์ทัลกลางสามารถอำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติในขณะที่พำนักอยู่ในประเทศไทยพร้อมช่วยลดปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงบริการของรัฐเพื่อดึงดูดให้ชาวต่างชาติสนใจมาเยือนประเทศไทยมากขึ้น
สำหรับ (ร่าง) แผนแม่บทการพัฒนาพอร์ทัลกลางเพื่อชาวต่างชาติฯ นี้ จากผลการศึกษาและสำรวจการให้บริการชาวต่างชาติของประเทศไทยในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ สถานภาพปัจจุบันของบริการภาครัฐ การพัฒนาพอร์ทัลกลางเพื่อชาวต่างชาติของต่างประเทศ แนวทางการพัฒนาบริการเพื่อชาวต่างชาติในอนาคต รวมถึงระยะการพัฒนาบริการและพอร์ทัลกลางเพื่อชาวต่างชาติ ขีดความสามารถของพอร์ทัลกลางเพื่อชาวต่างชาติ และแนวทางการเชื่อมโยงบริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สามารถวิเคราะห์บริการที่ชาวต่างชาติต้องการออกมาได้ 4 ลักษณะคือ 1. บริการแบบครบวงจร (One Stop Service Service) 2. การมีบริการที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม 3. การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และ 4. การยืนยันตัวตนที่ง่าย สะดวก ซึ่งในระยะเริ่มต้นคาดการณ์ว่าชาวต่างชาติที่จะเข้ามาใช้พอร์ทัลกลางฯ นี้จะมีจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน จากจำนวนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน และอาจมีจำนวนเพิ่มขึ้น
ตามตัวเลขคาดการณ์จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาว่าในปี 2565 นี้ประเทศไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 8-15 ล้านคน
ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากหน่วยงานภาครัฐที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ชาวต่างชาติ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาคเอกชน สมาคมอุตสาหกรรมภาคการเงิน การท่องเที่ยว และประกันภัย หอการค้าระหว่างประเทศในประเทศไทย รวมถึงชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างครบถ้วน โดย DGA ได้รวบรวมข้อเสนอแนะที่ได้รับนำไปปรับใช้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพอร์ทัลกลางเพื่อชาวต่างชาติฯ ให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดคุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน