โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)


13 March 2564
1402

ความเป็นมา

๖ กันยายน ๒๕๕๔ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ชื่อเดิม สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มีหนังสือที่ ทก (สรอ) ๕๑๐/๒๕๕๔/๑๓๙๗  ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ร่วมสนองการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)

๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ อพ.สธ. มีหนังสือ ที่ พว๐๐๐๑(อพ.) ๒๖๖๔/ ๒๕๕๕  พระราชทานพระราชานุญาติให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมสนองพระราชดำริและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ. ในระยะ ๕ ปีที่ ๕ (๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙)

ปี ๒๕๕๙ อพ.สธ. มีประกาศ ที่ อพ.สธ. ๑๘๘/๒๕๕๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)* โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ (ประกาศ คกก. อพ.สธ.- สพร. 199-2559 (ฉบับล่าสุด))

 * * สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ได้เปลี่ยนเป็น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป

 ปี ๒๕๖๐ อพ.สธ. มีประกาศ ที่ อพ.สธ. ๑๐๕/๒๕๖๐  แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ (ประกาศคณะกรรมการ อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่ ๖ 105-2560)

คณะกรรมการดำเนินงาน

คณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ชื่อเดิม สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในพื้นที่ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ประสบความสำเร็จเป็นประโยชน์โดยแท้ โดยมีรายชื่อคณะกรรมการฯ ดังต่อไปนี้

  1. นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ประธานกรรมการ
  2. นางสาวอภิณห์พร อังคกมลเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รองประธานกรรมการ
  3. ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช รองประธานกรรมการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  4. นายอุสรา วิสารทานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาดิจิทัลโซลูชันส์ กรรมการ
  5. นายสุโชตน์ เฉลิมช่วง  ผู้จัดการส่วนที่ปรึกษาธุรกิจดิจิทัล กรรมการและเลขานุการ
หน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ. – สพร.
  1. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานที่มีหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ เป็นประธาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
  2. ร่างและจัดทำแผนแม่บทของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนแม่บทของ อพ.สธ.
  3. ร่างและจัดทำแผนปฏิบัติการรายปีให้สอดคล้องกับแผนแม่บทของ อพ.สธ.
  4. ดำเนินงานและติดตามงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการและสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานตามแผนแม่บท อพ.-สธ.
  5. สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการฯ
  6. จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานทุก ๆ ๖ เดือน และรายงานประจำปีงบประมาณ
  7. แต่งตั้งคณะทำงานหรืออนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงาน อพ.สธ.

แผนแม่บท

  • แผนแม่บทระยะ ๕ ปีที่ ๖ (๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔)

แผนการดำเนินงานประจำปี

  • แผนการดำเนินงานประจำปี ๒๕๖๓
  • แผนการดำเนินงานประจำปี ๒๕๖๔

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี ๒๕๖๑

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริ ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินงานตามแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระยะ ๕ ปีที่หก (๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔) และแผนปฏิบัติงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ เพื่อให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสอดรับการแผนแม่บทฯ รวมถึงมีความสอดคล้องกับภารกิจในการดำเนินงานของ สพร. ทั้งนี้ได้มีการดำเนินงานภายใต้กิจกรรมที่ ๘ ซึ่งเป็นกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 

     ๑. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้แก่ เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network: GIN) ระบบบริการคลาวด์ (Government Cloud : G-Cloud) และระบบประชุมออนไลน์ (GIN Conference)

     ๒. การสนับสนุนการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ได้แก่ ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ (MailGoThai)  ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Government Portal) โปรแกรมส่งข้อความสั้น (SMS Gateway)  การสนับสนุนโปรแกรมระบบ Chat ภาครัฐ (G-Chat)  และแอปพลิเคชันแจ้งข้อมูลข่าวสารและบริการภาครัฐ (Government News: GNews)

     ๓. การจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าปฎิบัติงานในการให้คำแนะนำปรึกษาในการประยุกต์ใช้เครื่องมือด้าน ICT ได้แก่ การจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติงานในการให้คำแนะนำปรึกษาในการประยุกต์ใช้เครื่องมือด้าน ICT เป็นประจำทุกเดือน เพื่อการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ๔. การส่งเสริมทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับเจ้าหน้าที่ อพ.สธ. ได้แก่ การสอบระดับ IP (IT Passport Examination) ซึ่งเป็นการสอบความรู้พื้นฐานทั่วไปทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

     ๕. จัดทำ Web Page ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานระหว่าง อพ.สธ.-สพร.

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี ๒๕๖๒

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริ ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินงานตามแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระยะ ๕ ปีที่หก (๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔) และแผนปฏิบัติงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ เพื่อให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสอดรับการแผนแม่บทฯ รวมถึงมีความสอดคล้องกับภารกิจในการดำเนินงานของ สพร. ทั้งนี้ได้มีการดำเนินงานภายใต้กิจกรรมที่ ๘ ซึ่งเป็นกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 

     ๑. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้แก่ เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network: GIN) ระบบบริการคลาวด์ (Government Cloud : G-Cloud) และระบบประชุมออนไลน์ (GIN Conference)

     ๒. การสนับสนุนการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ได้แก่ ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ (MailGoThai) ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Government Portal) โปรแกรมส่งข้อความสั้น (SMS Gateway) การสนับสนุนโปรแกรมระบบ Chat ภาครัฐ (G-Chat) และแอปพลิเคชันแจ้งข้อมูลข่าวสารและบริการภาครัฐ (Government News: GNews)

     ๓. การจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าปฎิบัติงานในการให้คำแนะนำปรึกษาในการประยุกต์ใช้เครื่องมือด้าน ICT ได้แก่ การจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติงานในการให้คำแนะนำปรึกษาในการประยุกต์ใช้เครื่องมือด้าน ICT เป็นประจำทุกเดือน เพื่อการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ๔. การส่งเสริมทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับเจ้าหน้าที่ อพ.สธ. ได้แก่ การสอบระดับ IP (IT Passport Examination) ซึ่งเป็นการสอบความรู้พื้นฐานทั่วไปทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

     ๕. จัดทำ Web Page ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานระหว่าง อพ.สธ.-สพร.

ทั้งนี้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ แต่ละกิจกรรมมีสถานะการดำเนินงานสรุปได้ดังต่อไปนี้

ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน

  1. อบรมการใช้งานระบบเครือข่ายภายในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๖๓
  2. การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ วันพุธที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมวิภาวดี ชั้น ๑๘ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

ข้อมูลผู้ติดต่อ

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
Digital Government Development Agency (Public Organization) (DGA) 
ชั้น 17 อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ 108 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : (+66) 0 2612 6000 โทรสาร : (+66) 0 2612 6011, (+66) 0 2612 6012
Contact Center : (+66) 0 2612 6060 อีเมล : contact@dga.or.th
เวลาทำการ : 8.30 – 17.30 น.