โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัล (Enterprise Architecture for Digital Transformation) สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อสนับสนุน
การเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัล (Enterprise Architecture for Digital Transformation)
สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
คลิกลงทะเบียน เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ
หลักการและเหตุผล
เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานของภาครัฐในปัจจุบันเป็นอย่างมาก จนทำให้เกิดคำว่า Digital Disruption ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของหุ่นยนต์ การเกิดขึ้นของบล๊อคเชน (Block Chain) การนำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) ประกอบกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เป็นนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีภารกิจสำคัญในการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ๆ ที่เปลียนแปลงอย่างเร็วและรุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้
Enterprise Architecture (EA) เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่อยู่ในการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Transformation Program: DTP) ที่จะช่วยให้เกิดการวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภารกิจของหน่วยงาน (Business) กับเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่มีอยู่ของหน่วยงาน เพื่อช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยบริหารจัดการทรัพยากรในด้านต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่า อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารทรัพยากรบุคลากร เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการทำงาน และ/หรือการทำงานประสานข้ามระหว่างส่วนงานภายในองค์กรที่คำนึงถึงเป้าหมายเดียวกันขององค์กร จึงจำเป็นต้องมีการนำแนวคิด ตลอดจนเครื่องมือสมัยใหม่อื่นๆ ได้แก่ Digital Mindset and Change Management, Digital Service Blueprint, Customer Journey Map ที่เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Transformation Program: DTP) ที่จะทำให้องค์กรเข้าใจการออกแบบบริการ และ/หรือปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงประชาชน หรือลูกค้าที่เป็นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Customer-centric Approach) อันประกอบด้วย การเก็บและรวบรวมข้อมูลโปรไฟล์ลูกค้าผู้ซึ่งเป็นผู้รับบริการแบบรอบด้าน (Customer 360 Analytics) เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาและจัดทำแผนการดำเนินงานรวมถึงสร้างเป้าหมายของการให้บริการที่ชัดเจน และพัฒนางานบริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อส่วนงานต่างๆ ขององค์การที่จะช่วยให้เห็นภาพเป้าหมายของความสำเร็จที่เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหน่วยงาน มิใช่มองเพียงเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละส่วนงานแยกกันตามตั้งไว้เพียงส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งเท่านั้นดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ (Thailand Digital Government Academy: TDGA) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) จึงเสนอการจัดฝึกอบรมหลักสูตร “การจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัล (Enterprise Architecture for Digital Transformation)” โดยมีความมุ่งหวังให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานภาครัฐต้นแบบที่มีความพร้อมสามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล ตลอดจนการปรับเปลี่ยนหน่วยงานเป็นรัฐบาลดิจิทัลซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร (Enterprise Architecture) ได้จริงตามคำแนะนำของวิทยากรที่มีประสบการณ์ในการจัดทำสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กรของหน่วยงานภาครัฐโดยตรง
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้จากกรณีศึกษาการจัดทำสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร (Enterprise Architecture) ทั้งภาครัฐและเอกชน
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำแนวทางการจัดทำสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร (Enterprise Architecture) ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานต้นสังกัดได้อย่างเหมาะสม และเกิดความคุ้มค่า
- เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่รัฐบาลดิจิทัล และพัฒนาทักษะการใช้งานข้อมูลดิจิทัลในการสนับสนุนนโยบาย “Thailand 4.0”
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้อำนวยการฝ่าย หรือผู้อำนวยการกลุ่มงาน ด้านกระบวนการหลัก และกระบวนการสนับสนุนขององค์การ
- ผู้ปฎิติบัติงานด้านนโยบายและงานวิชาการ หรือผู้ทำงานด้านบริการ หรือผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล