นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน
การประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ พร้อมด้วย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ พร้อมด้วยกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมติที่ประชุมเรื่องสำคัญได้แก่ การจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA พร้อมแนะแนวทางการใช้ Digital ID ของประชาชนว่า ต้องมีกระบวนการในการพิสูจน์ยืนยันตัวตนผู้ใช้งานที่มีความแม่นยำ สามารถป้องกันการปลอมแปลง ID บนโลกออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนใช้ได้อย่างมั่นใจ พร้อมเร่งกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญเรื่อง ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) โดยเฉพาะกรณีการส่งข้อความสั้น (SMS) ทางโทรศัพท์มือถือ ที่มีเนื้อหาล่อลวงโดยให้เร่งหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ Cyber Disruption นอกจากนี้ให้เร่งพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลบุคลากรภาครัฐให้พร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และควรให้ความรู้ตั้งแต่ระดับเยาวชน อีกทั้ง ได้มอบนโยบายการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเปิดภาครัฐของไทยผ่านศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th) ให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีสากล
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาถึงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการสำคัญ (Flagship Project) ภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำแนกตาม 6 กลุ่มสำคัญ (Focused Areas) ประกอบด้วย 1. กลุ่มการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้แก่ โครงการหนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification : ID One SMEs) โดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2. กลุ่มความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน ได้แก่ โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางข้อมูลด้านสวัสดิการ (Welfare Platform) โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และ DGA 3. กลุ่มการศึกษา ได้แก่ โครงการ Digital Signature for Digital Transcript โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ DGA รวมถึงโครงการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มอัจฉริยะเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนและการพัฒนาสมรรถนะ ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย (E-Workforce Ecosystem) โดย สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) 4. กลุ่มการเกษตร ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 5. กลุ่มการมีส่วนร่วม โปร่งใสและตรวจสอบได้ของประชาชน ได้แก่ โครงการระบบกลางด้านกฎหมาย (Law Portal) โดย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ DGA และโครงการระบบจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ โดย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ 6. กลุ่มสุขภาพและการแพทย์ ได้แก่ โครงการสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Thailand Plus โครงการระบบอ่านใบรับรองข้อมูลสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล เฟส 1 (Digital Health Certificate Resolver) และโครงการสนับสนุนการใช้ดิจิทัลรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย DGA ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอนุชา นาคาศัย เป็นประธานอนุกรรมการฯ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานให้คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลรับทราบต่อไป
ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ Data.go.th ว่าก่อให้เกิดการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน (Citizen Driven) และธรรมาภิบาลภาครัฐ (Good Governance) โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้ DGA ดำเนินการขับเคลื่อนการเปิดเผยชุดข้อมูลตามผลการสำรวจข้อมูลที่ควรค่าในการนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะ ตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน รวมถึงเห็นชอบขั้นตอนการจัดทำและการประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.) เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดทำและประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
ด้าน นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รับแนวนโยบายพร้อมเร่งดำเนินการโครงการสำคัญ (Flagship Project) ทั้ง 6 ด้านอีกทั้ง
จะผลักดันเรื่องการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลให้เกิดการบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานรัฐไทยที่เอื้อต่อการบริหารจัดการ การให้บริการประชาชน และการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อยอดนวัตกรรม และการนำข้อมูลมาใช้เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศต่อไป
ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ได้รายงานความก้าวหน้าให้ที่ประชุมรับทราบถึงความก้าวหน้าโครงการภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565 ว่ามีโครงการที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว 22 โครงการ พร้อมแจ้งที่ประชุมรับทราบเรื่องการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อเป็นแกนกลางในการดำเนินงานด้านข้อมูลภาครัฐ ยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐให้มีคุณภาพตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล นำไปสู่การเปิดเผย เชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมข้อมูลสำหรับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
โดย DGA ยังคงเดินหน้าผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) ซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการแลกเปลี่ยน บูรณาการ และใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน รวมถึงสนับสนุนให้นำข้อมูลที่มีมูลค่าสูง (High-value datasets) เปิดเผยผ่านศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th) เพื่อให้ภาคธุรกิจ และประชาชนนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ในการคาดการณ์หรือทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ประเทศเดินหน้าต่อได้อย่างยั่งยืน
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดคุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน