EGA เปิดตัวระบบ Government Cloud Service (G-Cloud)


16 March 2558
897

ไอซีทีร่วมสรอ. เปิดคลาวด์ภาครัฐเวอร์ชันสมบูรณ์ ดึง 30 หน่วยงานรัฐประเดิม ระดมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ค ฯลฯ รองรับ มั่นใจระบบง่ายถึงยากเอาอยู่ พร้อมเจรจาสำนักงบประมาณหวังให้หน่วยงานรัฐขอใช้งบไอที ต้องพิจารณาสาธารณูปโภคส่วนกลางก่อน

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเปิด เผยว่า ทางกระทรวงไอซีทีร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสรอ. ได้ร่วมเปิดตัวระบบ Government Cloud Service ในเวอร์ชันสมบูรณ์แบบครั้งแรก ถือเป็นการดำเนินการแบบเต็มตัว ทั้งทางด้านเทคโนโลยี แผนงานการบริการเต็มรูปแบบ การเพิ่มโครงสร้างสาธารณูปโภค งบประมาณ และการเข้าไปร่วมแก้ไขกฎระเบียบทางด้านการจัดซื้อจัดจ้าง กฎหมาย ให้รองรับมากที่สุด เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจและเพิ่มปริมาณการให้บริการมากยิ่งขึ้นในปี ต่อๆ ไป จนทำให้ระบบนี้กลายเป็นระบบหลักทางด้านไอทีของประเทศในอนาคตอันใกล้

โครงการนี้ได้เลือกแอพพลิเคชันจาก 30 หน่วยงานในการเข้าร่วม Government Cloud Service เป็นจำนวนที่สมเหตุสมผล ทั้งในเงื่อนของเวลา ความเชี่ยวชาญจากฝ่ายไอทีของสรอ.และฝ่ายไอทีของหน่วยงานนั้นๆ การติดตั้งเพิ่มเติมของโครงสร้างพื้นฐานและระบบต่างๆ ของระบบคลาวด์ การเลือกดาต้าเซ็นเตอร์รายอื่นๆ เข้ามาเป็นพันธมิตร ทั้งหมดจะนำไปสู่ความพร้อมก่อนที่จะเร่งเครื่องให้บริการมากกว่านี้ได้ในปี ต่อๆ ไป

ภาพรวมที่จะได้เห็นในปีนี้ก็คือ จะมีแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยถูกพัฒนามาก่อนของหน่วยงานรัฐ จะถูกผลักดันขึ้นสู่ระบบคลาวด์ตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะการเขียนแอพพลิเคชันนั้นรองรับอยู่แล้ว ขณะเดียวกันแอพพลิเคชันเดิมที่เคยทำงานอยู่แล้ว จะมีการทยอยนำเข้าสู่ระบบคลาวด์แบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในกรณีต้องใช้เวลา และไม่กระทบกับการปฎิบัติงานเดิม ซึ่งคาดว่าระบบคลาวด์จะยังเป็นแค่ส่วนน้อยอยู่ แต่คาดว่าภายใน 5 ปีแอพพลิเคชันที่ทำงานผ่านระบบคลาวด์ของภาครัฐจะมีมากกว่า 50% และนั่นจะทำให้ลดการลงทุนทางด้านไอทีของภาครัฐไปได้จำนวนมาก

สำหรับเวอร์ชันทดลองเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ในครั้งนั้นได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ขึ้นในระบบไอทีราชการไทย มีการติดต่อเพื่อที่จะนำระบบแอพพลิเคชันต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานมาเข้าโครงการ แต่เนื่องจากในเวอร์ชันทดลองนั้นทางสรอ.มีความสามารถเปิดรับในเบื้องต้น เพียงแค่ 10 ระบบเท่านั้น ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต., กรมปศุสัตว์, โครงการชัยพัฒนา, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสพธอ., กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กรมธนารักษ์, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือสสวท., สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISDA, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรมการพัฒนาชุมชน

และเมื่อทำการสำรวจการใช้งานจริง ผลสำรวจของสรอ. จาก 9 ใน 10 ของหน่วยงานที่เข้ามาใช้ระบบพบว่า คะแนนรวมความพึงพอใจเท่ากับ 69% แบ่งเป็น 1. ด้านคุณภาพบริการ คะแนนเฉลี่ย 78% ประเด็นที่ได้คะแนนสูงที่สุด คือ ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานบริการ 89% 2. การใช้งานบริการ Government Cloud คะแนนเฉลี่ย 73% ประเด็นที่ได้คะแนนสูงที่สุด คือ ความสะดวกในการใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์สำหรับจัดการ 78% และ ความสามารถดูแลและตรวจสอบการใช้งานของผู้ใช้บริการเว็บไซต์สำหรับจัดการ 78%

จากการสำรวจทั้งหมด ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บริการคลาวด์กับผู้ให้บริการรายอื่นมาก่อน มีเพียงรายเดียวที่เคยใช้บริการของ AMAZON EC2 โดยรายนี้ให้คะแนนสรอ. เท่ากับ 3 คะแนน และ AMAZON เท่ากับ 5 คะแนน ซึ่งทำให้เห็นว่าภาครัฐเองยังไม่มีความคุ้นเคยกับการใช้คลาวด์มาก่อน ดังนั้นจึงมีถึง 5 หน่วยงานที่ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้บริการ Government Cloud Service ต่อไปหรือไม่ ส่วนหน่วยงานที่จะนำระบบขึ้นใช้บริการต่อไปจำนวน 4 หน่วยงานได้แก่ กรมธนารักษ์, สำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้ ICT, กรมป้องกันและบรรเทาฯ, สวทช. โดยหน่วยงานที่สนใจยังต้องการได้รับการสนับสนุนหลายด้านเกี่ยวกับการบริการ คลาวด์ เช่น ความรู้ด้านรายละเอียดเกี่ยวกับการบริการทั้งหมดของคลาวด์ และการสนับสนุนด้านความช่วยเหลือในการถ่ายโอนข้อมูลและโอนย้ายระบบขึ้นใช้ บริการคลาวด์

สรุปภาพรวมที่จะเห็นได้ในปีนี้ก็คือ ระบบ GIN เข้าสู่เวอร์ชัน 2.0,ระบบ Government Cloud Service ที่เริ่มใช้งานจริง,เกิดระบบ Smart Province รุ่นแรกๆ มีระบบ Application Market Place รองรับทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และอื่นๆ เพื่อเป็นที่รองรับการพัฒนาแอพพลิเคชันและ Content ของประเทศ โดยมีระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัยที่จะเริ่มมีการประมูลในปลายปีนี้มารองรับ จะทำให้ภาพไอทีของประเทศมีความเด่นชัดมากขึ้น และจะนำไปสู่การก้าวกระโดดในไม่ช้า

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ.เปิด เผยว่า จากการที่สรอ.ได้ดำเนินการระบบ Government Cloud Service ในชั้นทดลอง และได้ข้อมูลความต้องการ และได้ประเมินระบบทั้งหมดออกมา เมื่อเข้าสู่ระบบจริงตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางสรอ.ได้พัฒนาระบบคลาวด์ขึ้นมาให้เทียบกับมาตรฐานสากลมากขึ้น โดยได้เสริมตั้งแต่ระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ค ระบบรักษาความปลอดภัย และอื่นๆ เข้ามาอย่างมาก

ในส่วนของฮาร์ดแวร์นั้นมีการเพิ่มเติมเข้ามาอย่างมาก ตั้งแต่ระบบสภาพแวดล้อมใหม่ จากเดิมจะเน้นใช้ระบบภายในของสรอ.เอง ขณะนี้ได้กระจายเข้าใช้ใน IDC หรือศูนย์อินเทอร์เน็ตแหล่งต่างๆ ในประเทศมากขึ้น ดังนั้นฮาร์ดแวร์ที่ใส่ไปยังศูนย์เหล่านี้สรอ.ได้เพิ่มประสิทธิภาพ และมีความทันสมัย โดยในขั้นต้นมีการเพิ่มทั้งความเร็ว และความจุของระบบมากกว่า 2เท่า

นอกจากนั้นแล้วทางสรอ.ยังได้วางสถาปัตยกรรมให้การเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์ หรือความสามารถในการทำงานของระบบเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอด เวลา ซึ่งในชั้นนี้สรอ.ยังให้บริการเพียงแค่ IaaS หรือ Infrastructure as a Service หรือการทำให้หน่วยงายรัฐสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ ทุกเวลากับแอพพลิเคชันของตนเอง แต่ยังไม่ถึงขั้น SaaS หรือ Software as a Service ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบ Cloud Service ทั่วไป เนื่องจากทางสรอ.ยังไม่ได้ทำความตกลงกับหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วม โดยทั้งหมดต้องกำหนดมาตรฐานร่วมกัน ซึ่งคาดว่าเมื่อหน่วยงานรัฐมีความคุ้นเคยกับระบบ IaaS แล้วภายในปีนี้ ในปีหน้าสรอ.จะสามารถเริ่มต้นเข้าสู่ระบบ SaaS ได้

สำหรับแผนดำเนินการของ Government Cloud Service ในรุ่นนี้ทางสรอ.จะรับระบบของหน่วยงานเข้ามาดูแลประมาณ 30ระบบ โดยเฉลี่ยจะมีเซิร์ฟเวอร์รองรับในแต่ละระบบประมาณ 3เครื่อง ตามแผนที่วางไว้จะมีการขึ้นเซิร์ฟเวอร์ในแต่ละเดือนประมาณ 20เครื่อง หรืออย่างน้อย 5หน่วยงาน ซึ่งจะทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ขึ้นกับระบบในปีนี้จะมีสูงถึง 80-100เครื่องเลยทีเดียว

ปัจจุบันมีหน่วยงานที่แจ้งจะเข้าร่วมแล้วเกินกว่า 30หน่วยงาน มากกว่าที่ทางสรอ.กำหนดเอาไว้ ดังนั้นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกช่วงนี้จะเน้นรายที่นำเสนอเข้ามาก่อน และจะมีการพิจารณาถึงความพร้อมในการนำระบบขึ้นสู่อินเทอร์เน็ตของหน่วยงาน นั้นๆ ซึ่งในขณะนี้การพิจารณาและการนำระบบขึ้นทั้งหมดเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ส่วนรายที่พลาดจากปีงบประมาณนี้ ทางสรอ.ก็พร้อมจะให้คำปรึกษาในการเตรียมความพร้อมที่จะพัฒนาระบบให้สามารถ ขึ้นสู่คลาวด์ได้ในปีงบประมาณต่อๆ ไป

ส่วนระบบคลาวด์ในเวอร์ชันใหม่ของสรอ.ในครั้งนี้ มีตั้งแต่การมอบหมายให้ระบบคลาวด์ทำงานเป็น Backup Site หรือเป็นระบบสำรองของหน่วยงานทั้งหมด, การเป็น Web Hosting หรือการเป็นเซิร์ฟเวอร์หลักของเว็บไซต์หน่วยงานนั้นๆ, การสร้างระบบเฉพาะกิจเร่งด่วน ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่ยังไม่เคยติดตั้งในหน่วยงานนั้นมาก่อน, การตั้งให้ระบบคลาวด์เป็นฐานข้อมูลหลักและสำรองของหน่วยงาน และสุดท้ายคือเป็นแอพพลิเคชันบนเว็บให้กับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งระบบทั้งหมดมีทั้งความยาก ที่ซับซ้อนอย่างมาก เช่น การเป็น Backup Site ไปจนถึงระบบที่ง่ายๆ อย่างการเป็น Web Hosting ซึ่งการได้ดูแลทั้งหมดเช่นนี้จะทำให้สรอ.เกิดประสบการณ์และสามารถดูแลระบบ ทุกอย่างได้ดีในอนาคต

อย่างไรก็ตามแนวโน้มการใช้งานคลาวด์ของหน่วยงานภาครัฐในช่วงนี้ จะเน้นการนำระบบใหม่ที่ไม่เคยใช้งานในระบบเซิร์ฟเวอร์เดิมมาก่อน เพราะตัดสินใจง่ายและไม่ยุ่งยากในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้งาย และไม่ต้องเสียเวลาและงบประมาณในการเปลี่ยนระบบเดิมมาสู่ระบบใหม่ แต่เชื่อว่าอีกไม่นานภาครัฐต่างๆ ก็จะค่อยๆ นำระบบเดิมย้ายเข้ามาสู่ระบบคลาวด์ในอนาคตอันใกล้

นอกจากแรงจูงใจในการเข้ามาใช้ระบบคลาวด์ที่ไม่คิดมูลค่าแล้ว ทางสรอ.จะเร่งหารือกับทางสำนักงบประมาณในการผลักดันให้การของบประมาณด้านไอ ทีของหน่วยงานต่างๆ ต้องสอดคล้องกับเทคโนโลยีคลาวด์ และมองในภาพกว้างที่จะลดความซ้ำซ้อนของการลงทุนในระบบไอทีภาครัฐ โดยต้องหันมาใช้ทรัพยากรส่วนกลางมากขึ้น 

สำหรับงบประมาณของโครงการ Government Cloud Service ในเวอร์ชันนี้ทางสรอ.มีงบดำเนินการ 50ล้านบาท โดยงบประมาณส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นเพิ่มเติมระบบสาธารณูปโภคทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย การสำรองระบบ และอื่นๆ ซึ่งในปีงบประมาณหน้าสรอ.ก็จะพัฒนาระบบเข้าสู่ระบบ SaaS ที่พร้อมจะให้หน่วยงานรัฐสามารถนำระบบของตนเองไปให้บริการกับหน่วยงานรัฐ อื่นๆ ที่สนใจนำไปใช้ได้ โดยอาจมีการคิดค่าบริการตามข้อตกลง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณไปได้อย่างมากในอนาคต

ส่วนรายละเอียดของ 30หน่วยงานเบื้องต้นที่ต้องการเข้าสู่ระบบ Government Cloud Serviceของสรอ.ได้แก่

  • สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนำ โครงการระบบฐานข้อมูลการรักษาพยาบาลของคนไข้ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลภายใต้ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ และโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์สุขภาพ มาเข้าร่วม
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ที่สร้างระบบแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ รองรับระบบรายงานอุบัติเหตุทางถนนรายเดือน, ระบบเยียวยาผู้ประภัยน้ำท่วม (5,000บาท) และระบบจัดการฐานข้อมูลสาธารณภัย รวมถึงการสร้างระบบDatabase Server หรือการทำระบบฐานข้อมูลผ่านทางออนไลน์ทั้งระบบ
  • กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี จะนำระบบเผยแพร่รายการข่าวและข้อมูลประชาสัมพันธ์ วิทยุกระจายเสียง และระบบประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์ เข้าสู่ระบบคลาวด์
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ NSTDA กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งหมด 5ศูนย์ คือ NSTDA,BIOTEC,NANOTEC,NECTEC,MTEC จะมีการนำระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์, อินทราเน็ต, ระบบอีเมล์ และระบบ Shared Storage หรือการร่วมกันใช้สตรอเรจมาเข้าร่วม
  • สำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทส.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะนำระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์, ระบบข้อมูลแผนที่ และระบบฐานข้อมูลเข้าร่วม นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งระบบแต่ยังไม่มีการตั้งชื่อโครงการที่จะเข้าร่วม ด้วย
  • สำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทส.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • โรงพยาบาลรามา จะมีโครงการศูนย์รังสีวินิฉัยก้าวหน้าและรังสีร่วมรักษา ได้นำระบบ Thaivisa และระบบ EMR มาเข้าร่วม
  • สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) จะนำระบบแผนที่มาให้บริการผ่านเว็บไซต์
  • สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIMT) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้นำระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์ และอินทราเน็ตมาเข้าร่วม
  • สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ETDA)
  • สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA)
  • สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (SOC)
  • สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต)
  • กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท)
  • สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
  • กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • NIDA
  • กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สป.สช. กระทรวงสาธารณะสุข
  • สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งนำระบบบริการการนำเข้า- ส่งออก มาเข้าร่วม
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ กพร. ที่นำระบบเว็บไซต์ของ กพร.และระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ (e-Sar) เข้าร่วม
  • กรมส่งเสริมอุตสากรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  • วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • สำนักงานปลัด กระทรวงคมนาคม
  • สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (SOC) ซึ่งนำโครงการรับจำนำข้าว, ระบบกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เข้าร่วม
  • ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นำระบบเยียวยาฯ และระบบเยี่ยมเยือน มาพัฒนาบนคลาวด์
  • สมาคม CIO16
  • ศูนย์ IT กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่นำระบบ ICT Care เข้าร่วม
  • นายชนรรค์ พุทธมิลินประทีป ที่ปรึกษา สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังเปิด เผยว่า ทางสำนักงบประมาณได้หารือกับสรอ. และมีข้อตกลงร่วมกันว่าในปีงบประมาณ 2556 สำนักงบประมาณจะสนับสนุนและผลักดันระบบงานสำคัญๆ ของรัฐมาใช้โครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศที่สรอ. เตรียมการไว้ ไม่ว่าจะเป็น GIN หรือ บริการคลาวด์ของภาครัฐ หลังจากนั้นในปีงบประมาณ 2557 สำนักงบประมาณจะศึกษาแนวทางและกระบวนการของงบประมาณ ให้หน่วยงานภาครัฐสามารถมาใช้งานโครงสร้างพื้นฐานกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้งบประมาณของรัฐได้

    ดังนั้นหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังจะยื่นของบประมาณทางด้านไอทีในช่วงเวลาอันใกล้นี้ จำเป็นต้องศึกษาสาธารณูปโภคส่วนกลางที่สามารถใช้ร่วมกันได้ และมีให้บริการอยู่แล้ว โดยเฉพาะส่วนที่สรอ.ดำเนินการอยู่ และเขียนแผนงบประมาณในส่วนของไอทีให้สอดคล้องและตรงกับงบประมาณที่ทาง สรอ.ได้จัดหามา ซึ่งคาดว่าจะทำให้หน่วยงานต่างๆ วางแผนการทำงานผ่านระบบไอทีได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ใช้งบประมาณน้อยลง แต่หากหน่วยงานรัฐยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานที่จะเข้ามาใช้ ระบบไอทีส่วนกลางแล้ว อาจทำให้การได้รับงบประมาณในส่วนนี้ลดน้อยลง จนถึงอาจถูกตัดออกจากแผนงบประมาณได้

    นอกจากนั้นทางสำนักงบประมาณเตรียมที่จะนำระบบงบประมาณผ่านระบบคลาวด์มาใช้ใน ระยะเวลาอันใกล้ จะทำให้ทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านเครือข่ายอินทราเน็ตของ GIN และจะทำให้ GIN กลายเป็นโครงสร้างสาธารณูปโภคหลักทางด้านไอทีที่แต่ละหน่วยงานที่จะนำเสนองบ ประมาณจำเป็นต้องใช้

    นายอาวุธ วรรณวงศ์  รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ กพร. เปิด เผยว่า ระบบหลักที่กพร.นำมาติดตั้งใน Government Cloud Service ของสรอ. คือระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ (e-Sar) ซึ่งหน่วยงานราชการทุกหน่วยจำเป็นต้องใช้ โดยเกี่ยวข้องกับการปรับตำแหน่งและโครงสร้างบุคลากรทั้งของหน่วยงานนั้น และการวิเคราะห์ภาพรวมของทั้งโครงสร้างราชการ ดังนั้นการที่กพร. นำระบบนี้ขึ้นมาให้บริการนอกจากจะทำให้หน่วยงานรัฐต่างๆ มีความคุ้นเคยกับเว็บแอพพลิเคชันแล้ว ยังสร้างความมั่นใจให้แต่ละหน่วยในการนำระบบของตนเองขึ้นมาไว้บนระบบคลาวด์ อีกด้วย

    นายฐานิต ศรียะพันธ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิด เผยว่า เนื่องจากปัญหาในภาคใต้มีความอ่อนไหวอย่างมาก และต้องการข้อมูลแบบปัจจุบันทันที โดยที่จำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานเข้าหากันแบบมีเอกภาพ ซึ่งศอ.บต.ได้นำสองโครงการนำร่องคือ ระบบเยียวยา ผู้ประสบปัญหา ซึ่งต้องการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลหลักของศอ.บต. กับการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบการช่วยเหลือให้ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับระบบที่ 2 ที่ศอ.บต.นำเข้ามาด้วยคือ ระบบเยี่ยมเยือน ที่แต่ละหน่วยงานที่ลงพื้นที่จะต้องลงบันทึก และให้ข้อสังเกตต่างๆ ทำให้ทุกหน่วยงานได้ข้อมูลทางด้านการข่าวเท่าเทียมกัน ในเวลาปัจจุบันทันที ส่งผลให้การวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อการทำงานต่อทำได้ง่ายขึ้น คาดว่าในอนาคต ศอ.บต. อาจจะนำระบบแอพพลิเคชันที่เกี่ยวข้องมาทำงานผ่านระบบคลาวด์มากขึ้น

    ติดตามภาพบรรยากาศเพิ่มเติมได้ที่
    https://www.facebook.com/media/set/?set=a.387826587922364.81940.100000850770441&type=1&ref=notif&notif_t=like