อีจีเอ โชว์เทคโนโลยี “คลาวด์


13 March 2558
687

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ และผู้บริหารของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA) ร่วมงานอบรมสัมมนา eGovernment Forum ๒๐๑๓ ภายใต้แนวคิด SMART THAILAND, SMART GOVERMENT towards AEC “CLOUD COMPUTING IN ACTION” ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย เป็นเจ้าภาพการจัดงานครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่   ๒๑ – ๒๒ สิงหาคม ๒๐๑๓ เพื่อเป็นเวทีการประชุมสำคัญในการยกระดับมาตรฐานไอซีทีภาครัฐ เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับและพร้อมรับกับกรอบความ ร่วมมือของกฎบัตรอาเซียน และเป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และความสามารถของผู้บริหารระดับ สูงจากหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการแสดงศักยภาพของไอซีทีเพื่อภาครัฐ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ปรับปรุงเพื่อเสริมศักยภาพองค์กร หรือหน่วยงาน ตลอดจนยกระดับและเสริมศักยภาพหน่วยงานภาครัฐส่วนท้องถิ่นเพื่อพร้อมรับกับ แผนยุทธศาสตร์ด้านไอซีทีของประเทศต่อไป โดยมี นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๐๑๓  ณ  โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
 

สำหรับงานสัมมนาดังกล่าว มีการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “What’s Next in eGovernment?” ผลการจัดลำดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเริ่มขยับขึ้นในปี ปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลักดันนโยบาย Smart Thailand ของรัฐบาล หลายโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้เริ่มไปแล้ว และยังมีอีกหลายโครงการกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ ในส่วนของรัฐบาลโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความมุ่งมั่นใน การผลักดันนโยบายที่สำคัญต่อไปอย่างไร  รวมถึงการดำเนินโครงการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อตอบโจทย์การยกระดับ ประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน และการบูรณาการบริการของรัฐผ่านสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อย่างต่อเนื่องจะเป็นอย่างไร โดย น.อ.รศ.ดร.ประสงค์ ปราณีตพลกรัง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

อีกทั้ง มีการเสวนาพิเศษ หัวข้อ “Government Cloud Computing in Action” เทคโนโลยี Cloud Computing เริ่มมีบทบาทในประเทศไทยอย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐ และเอกชน ในบริบทของรัฐบาลกับโครงการ G-Cloud อันจะส่งผลต่อทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ และการให้บริการกับประชาชนในที่สุด ปัจจุบันสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA) ได้วางแนวทางอย่างไร ความร่วมมือกับทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในการพัฒนาแนวทาง และระบบงานต่างๆ เพื่อนำมาให้บริการบน G-Cloud อย่างต่อเนื่องจะเป็นอย่างไร การเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือด้านความปลอดภัยในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง "Cloud Security Alliance" (CSA) เพื่อส่งเสริมและร่วมสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยระบบคลาวด์คอมพิวติ้งใน ภูมิภาคอาเซียนดำเนินการไปถึงไหนแล้ว โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทุด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ดร.สุรชัย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก นายชนรรค์ พุทธมิลินประทีป ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ และ ดำเนินรายการ โดย นายชรินทร์ ธีรฐิตยางกูร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี 
 

นอกจากนี้ EGA ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งนำเสนอผลงานโครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Services) และมีหน่วยงานที่ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ อาทิ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  รวมทั้งผู้ประกอบการ อาทิ Tangerine Co., Ltd.  Cisco systems (Thailand) Ltd.  SAP Thailand Ltd.  Hewlett-Packard (Thailand) Ltd. เป็นต้น ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมงานอบรมสัมมนาดังกล่าวจำนวน ๒๐ กระทรวง ประมาณ ๔๐๐ คน 

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที คือ “เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ ประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

กระทรวงฯ  ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ๔  ปีโดยสอดคล้องกับกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓ ของประเทศไทย หรือ ICT๒๐๒๐ และ แผนแม่บท ICT ฉบับที่ ๒ ที่มีพันธกิจสำคัญคือ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้าน ICT และประชาชนให้มีความรู้ความสามารถ  ในการสร้างสรรค์  ผลิต  และ  ใช้ ICT  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีคุณธรรม  จริยธรรม  ถูกต้อง  เหมาะสมและรู้เท่าทัน  อีกทั้งส่งเสิรมการวิจัยและพัฒนาด้าน ICT  เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม ICT ของประเทศไทย

ในกรอบนโยบาย ICT๒๐๒๐ นั้นมี ๗ ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ ๑. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT  ที่เป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างทั่วถึง ๒.  พัฒนาทุนมนุษย์ด้าน ICT  ให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอ  ๓.  ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT  ๔.  ใช้ ICT  สร้างนวัตกรรมการบรูการของภาครัฐ  ๕.  พัฒนาและประยุกต์ ICT  เพื่อภาคการผลิต ๖. พัฒนาและประยุกต์ ICT  เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ๗. พัฒนาและประยุกต์ ICT เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จะขอย้ำรายละเอียดในยุทธศาสตร์ ที่ ๓  นั้น ว่า เป็นเรื่องการส่งเสริมและ

สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT  ให้แข่งขันได้ในระดับภูมิภาค รวมทั้ง สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน ICT  ให้สามารถส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศให้ได้อย่างครบวงจร

ในงานอบรมสัมมนาครั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนา และการนำเทคโนโลยีไอซีที  มาใช้ในภาครัฐ   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการประชาชน  และภาคธุรกิจ จะต้องเร่งดำเนินการพัฒนานำไอซีที  มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง  และโปร่งใส  ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการบริการภาครัฐอย่างทั่ว ถึงและเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันก็เป็นการนาไอซีทีมาใช้เพื่อปฏิรูประบบบริหารองค์กรของรัฐให้ เป็นการบริการจัดการที่มีธรรมาภิบาลต่อไป”

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ 
https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.593329957372025.1073741878.100000850770441&type=1