อีจีเอ “จัดหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์


13 March 2558
31

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จัดอบรมหลักสูตร นักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๓ ครั้งที่ ๙ ให้ผู้บริหารสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ ติดตาม และกำกับดูแล ได้อย่างทั่วถึงตามหลักธรรมาภิบาล

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA) จัดอบรมหลักสูตร นักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๓ หรือ (e-Government Executive Program : e-GEP#3) ซึ่งจัดอบรมระหว่างวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ – ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ ดำเนินการจัดจำนวน ๑๑ ครั้ง เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ ติดตาม และกำกับดูแล ได้อย่างทั่วถึงตามหลักธรรมาภิบาล อีกทั้งเป็นเครื่องมือในการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยใช้ไอซีทีในการวางแผนขับเคลื่อนองค์กรสู่การบริการประชาชนให้เกิดความ สะดวก รวดเร็ว สามารถใช้งานได้ง่าย 

สำหรับการจัดอบรมหลักสูตรครั้งนี้ เป็นหลักสูตรการอบรมนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๓ ครั้งที่ ๙ ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๖ กันยายน ๒๕๕๖  โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA) นำคณะผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐและรัฐ วิสาหกิจ จำนวน ๒๐ หน่วยงาน ไปศึกษาดูงานด้านการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศที่มีการจัดลำดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ลำดับที่ ๕ ของโลก (World e-Government Development Leaders 2012) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในองค์กรภาค รัฐ และภาคเอกชน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้เชี่ยวชาญ ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาการให้บริการประชาชนให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว ต่อไป โดยคณะได้เข้าเยี่ยมคารวะท่าน ดร. ชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันดีซี และศึกษาดูงานหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐเมริกา อาทิ 

๑. US. Department of State (DOS) หรือ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นกระทรวงของรัฐบาลกลางสหรัฐอมริกามีหน้าที่รับผืดชอบด้านความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศสหรัฐ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประเทศต่างต่างๆทั่วโลก เมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ซึนามิ เป็นต้น 

๒. The Library of Congress หรือ หอสมุดรัฐสภา เป็นสถาบันด้านวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาและเป็นหอสมุดแห่ง ชาติ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1800 ตามกฎหมายของรัฐสภาอเมริกัน เป็นหน่วยงานที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ภายใต้ความเห็นชอบของสภาสูง เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลด้านกฎหมายของรัฐบาล ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคาร ๓ หลังในวอชิงตันดีซี ถือเป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ว่าด้วยชั้นหนังสือและจานวนหนังสือที่มากที่สุด

๓. National Institute of Standards and Technology (NIST) คือองค์กรที่เป็นหน่วยงานรัฐในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่พัฒนามาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านความมั่นคง ความปลอดภัยของสารสนเทศ สาหรับการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการพัฒนากรอบปฏิบัติที่เป็นเอกสารเรียกว่า Special Publication (SP) เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติ และ Federal Information Procession Standards (FIPS) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานและข้อบังคับสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในการนาไปประยุกต์ใช้ในภาคเอกชน และศึกษาดูงานกี่ยวกับบริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ 

๑. บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจด้านระบบเครือข่ายสาหรับอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆ ของซิสโก้ล้วนถูกนำไปใช้ในการสร้างโซลูชั่นด้านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไป บริษัท และประเทศต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างราบรื่นโดยไร้ข้อจากัดด้านเวลา และสถานที่ โซลูชั่นระบบเครือข่ายของซิสโก้ นำเสนอจุดเด่นทั้งในด้านประสิทธิภาพ เทคโนโลยี ความปลอดภัย การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดาเนินธุรกิจ (Business transformation) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนาไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวม และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการปฏิบัติงานในองค์กร 

๒. ไมโครซอฟท์ เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลกมีฐานการผลิตอยู่ ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สาหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนั้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี โดยไมโครซอฟต์ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีที่ปัจจุบันและอนาคต ที่ไมโครซอฟต์ ที่กำลังดำเนินการอยู่ อาทิ Consumerization of IT, Cloud computing, Big data และ Social enterprise

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.605086416196379.1073741895.100000850770441&type=1