สัมมนาพิเศษ “วิเคราะห์ความคุ้มค่าในการดำเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์


13 March 2558
425

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ณ ห้องกิ่งทอง โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดงาน “สัมมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” ภายใต้โครงการ “วิเคราะห์ความคุ้มค่าในการดำเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์และการดำเนินงานของ สรอ. ทั้งนี้ งานสัมมนาในวันดังกล่าวได้รับการตอบรับจากหน่วยงานภาครัฐจำนวนกว่า ๑๕๐ หน่วยงาน 

โครงการ “วิเคราะห์ความคุ้มค่าในการดำเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” เป็นการประเมินความคุ้มค่าและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานด้านรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของ สรอ. โดยมีแนวคิดเปรียบเทียบระหว่างผลประโยชน์ (Benefit) และต้นทุน (Cost) ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน รวมไปถึงการวิเคราะห์ประโยชน์ทางตรง อันจะเป็นการประเมินผลกระทบที่เป็นรูปธรรมที่มีต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น การตอบสนองนโยบาย/ภารกิจหลักของหน่วยงานผู้ใช้บริการและผลกระทบต่อการให้ บริการของหน่วยงานดังกล่าว เช่น การได้รับบริการด้าน ICT ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานและให้บริการแก่ประชาชน และการประหยัดงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น ส่วนของผลประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่ ผลประโยชน์ต่อประเทศในภาพรวม ได้แก่ งบประมาณด้าน ICT ของประเทศในภาพรวมที่สามารถบูรณาการและประหยัดได้จากระบบบริการกลางภาครัฐ และการยกระดับสถานภาพรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย เป็นต้น

ทั้งนี้ สรอ. ถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานทางด้านรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การบูรณาการระบบรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบและให้เป็นที่ยอมรับต่อนานาประเทศ ในการก้าวสู่เป้าหมายในการบูรณาการและยกระดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สรอ. ได้ดำเนินโครงการต่างๆ ให้กับหน่วยงานภาครัฐในหลายด้าน โดยโครงการหลักที่สำคัญจะเป็นงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เช่น การบริการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) การบริการระบบคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud : G-Cloud) การบริการระบบบริหารจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ (MailGoThai) และระบบบริหารจัดการภัยคุกคามทางสารสนเทศภาครัฐ (Government Security Monitoring) เป็นต้น และในระยะต่อไป สรอ. จะให้ความสำคัญมากขึ้นกับงานด้านการบูรณาการระบบข้อมูลและบริการภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้เกิด Smart e-Service ในหน่วยงานภาครัฐ และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการของรัฐ อันจะทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการและประโยชน์สู่ภาคประชาชนอย่างแท้จริง 

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.602149433156744.1073741891.100000850770441&type=1

เอกสารแนบ

1

EGA Seminar20130905

57 ครั้ง