อีจีเอ นำคณะกรรมการบริหาร ร่วมงานนวัตกรรมรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 3.0 สาธารณรัฐเกาหลี หวังเพิ่มประสิทธิภาพยกระดับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์


13 March 2558
1201

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จัด “โครงการการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖” เพื่อให้ผู้บริหารภาครัฐศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ และ รับทราบแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของต่างประเทศ ตลอดจนนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการกำหนดแผนงานในการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย และ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม เป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กรและใช้ไอซีทีในการวางแผนขับเคลื่อน องค์กรสู่การบริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและใช้งานได้ง่าย และ เข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อการบริหารจัดการภายในองค์กรต่อไป

ตามตัวชี้วัดสำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของคณะกรรมการในการปฏิบัติ หน้าที่ของกรรมการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้คำแนะนำในการบริหารงานสำนักงานฯ ในการเพิ่มมุมมอง วิสัยทัศน์ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสานสนเทศในอนาคตรวมถึงการวางแผนใน การดำเนินงานสำนักงานฯ ต่อไป 

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ EGA จึงจัด “โครงการการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแล องค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA)” ซึ่งเป็นการศึกษาดูงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพของรัฐบาล เช่น NIA (National Information Society Agency), MOSPA  (Ministry of Security and Public Administration) รวมถึงการเข้าร่วมการสัมมนางานที่เกี่ยวข้องทางด้านความร่วมมือระหว่าง ประเทศและองค์กรด้านการบริหารงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ งาน 2013 Global e-Government Forum: GeGf 2013, International Conferences on Theory and Practice of Electronic Governance (ICEGOV 2013) ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ณ สาธารณรัฐเกาหลี 

การจัดโครงการดังกล่าว เพื่อให้ผู้บริหารได้ศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ และ เพื่อให้ผู้บริหารได้รับทราบแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของ ต่างประเทศ และ เพื่อให้ผู้บริหารนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการกำหนดแผนงานในการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยต่อไป และ เพื่อให้ผู้บริหารภาครัฐสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม เป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กรและใช้ไอซีทีในการวางแผนขับเคลื่อน องค์กรสู่การบริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและใช้งานได้ง่าย และ เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อการบริหารจัดการภายในองค์กร และการนำข้อมูลทางสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการให้เกิดความถูกต้อง และรวดเร็ว และ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ ติดตาม และกำกับดูแล ช่วยในการตัดสินใจตามมาตรฐานสากล ตลอดจนเพื่อให้ผู้บริหารสามารถในการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่า ทัน (Information Literacy) ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๗ ท่าน 

การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศเกาหลี ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางโดยอ้างอิงจาก The 2012 UN Global e-Government Survey โดยได้รับคะแนนสูงสุดในด้าน  e-Government Development Index และ ด้าน e-Participation Index

ในปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีกำลังพัฒนามุ่งไปสู่ Government 3.0 (2013-2017) Openness, Sharing, Communication and Collaboration โดยมีแนวคิด (Concept) คือ “The Happiness for all the people” ประกอบไปด้วย Transparent Government: สร้างความเข้าใจ ให้ข้อมูลแก่ประชาชน เปิดเผยข้อมูล และการมีส่วนร่วมกับประชาชน, Competent Government: การทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ เน้นการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล (Big Data) และ Service-Oriented Government: พัฒนาบริการใหม่ๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ช่วยเหลือ SMEs ให้บริการแบบ Face-to-face หากประชาชนร้องขอก้าวไปสู่ Smart Government ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ คณะกรรมการบริหารเข้าร่วมงานสัมนา GeGF (Global e-Government Forum 2013) Smart Government & Smart Society : Openness, Sharing, Communication and Collaboration ณ KINTEX, ILsan, Korea โดย ดร.สุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ “Cooperation: Improving Administrative Efficiency by Collaboration” และเข้าร่วมการประชุมทวิภาคีระหว่าง EGA และ NIA โดยมีหัวข้อการประชุมดังนี้ คือ

๑. How to leverage and improve e-Gov Ranking from Korea Experience และ ๒. The collaboration with Global e-Government Academy  ทั้งนี้ทาง NIA ยังเสนอแนวทางในด้านความร่วมมือทางวิชาการโดยการส่งบุคลากรเข้าประจำหน่วย งานภาครัฐ หรือ จัดอบรมกรอบการพัฒนาด้าน Government Enterprise Architecture อีกด้วย

จากนั้น คณะกรรมการบริหารเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการวิชาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนโดยมีบูทที่เข้าเยี่ยมชม อาทิ

– National Computing & Information Agency (NCIA)

ในช่วงปี ๒๕๔๓ มีการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลายในแต่ละกระทรวงซึ่งสร้าง และดำเนินการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละกระทรวงเอง เป็นผลให้เกิดความซ้ำซ้อนในการลงทุนในระบบสารสนเทศ (Information System) การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบรักษาความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมของระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยความต้องการตามยุทธศาสตร์ที่จะเอาชนะภัย คุกคามด้านความปลอดภัยและภัยธรรมชาติอย่างเป็นระบบความต้องการระบบที่สามารถ ให้บริการที่มีเสถียรภาพที่เพิ่มมากขึ้น ช่องว่างระหว่างการบริหารจัดการคุณภาพของบริการในแต่ละหน่วยงานประสิทธิภาพ ต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุน และต้นทุนของการดำเนินงานด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น     

รัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลีตัดสินใจที่จะสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ของประเทศ (Integrated data center: IDC) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานขอบระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีเสถียรภาพ และมีความยั่งยืน

NCIA เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ของประเทศที่มีการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๘ โดยการสร้างระบบสนับสนุนและระบบเครือข่ายสื่อสารสำหรับรัฐบาลโดยเฉพาะและ สร้าง Government Integrated Data Center (GIDC) ขึ้นที่ Daejeon และสร้าง GIDC แห่งที่ ๒ ขึ้นที่ Gwangju ในปี ๒๕๕๐ โดย GIDC ที่ Daejeon รองรับการทำงานของระบบสารสนเทศของ ๒๕ หน่วยงานใน ปี ๒๕๔๙ และ GICD ที่ Gwangju รองรับการทำงานของระบบสารสนเทศของ ๒๒ หน่วยงานในปี ๒๕๔๙ ในปี ๒๕๕๑ ได้มีการใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกันอย่างกว้างขวางในหน่วยงานภาครัฐ ในปี ๒๕๕๔ ได้มีการใช้งาน G-Cloud ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบ Cloud computing และมีการจัดทำ e-ANSI ซึ่งเป็นระบบ การเฝ้าระวังด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ครอบคลุมระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง หมดขึ้น และในปี ๒๕๕๕ ได้มีการพัฒนาบริการให้สามารถสนับสนุนระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์บนอุปกรณ์ สื่อสารเคลื่อนที่ได้ NCIA ได้รับใบรับรองมาตรฐานระดับโลกถึง ๔ ด้านหลัก คือ การบริการด้าน IT (ISO2000) ระบบคุณภาพสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT (ISO9001) การบริหารจัดการความต่อเนื่องให้ธุรกิจ (BS25999) และ การจัดการความปลอดภัยสารสนเทศ (GISMS) 

NCIA สามารถให้บริการได้ ๒๔/๗ คือตลอด ๒๔ ชั่วโมง ๗ วัน โดยไม่มีรอยต่อในการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีการปฏิบัติงานและมีบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เป็น ระบบ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศเป็นการป้องกันระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จากภัยคุกคามทั้งทางกายภาพและไซเบอร์ อาทิ การควบคุมการเข้าถึง การเฝ้าระวังระบบแบบ Real-time โดยระบบจะตัดการโจมตีทางไซเบอร์อัตโนมัติ และสามารถแก้ไขการจู่โจมแบบ DDOS ได้ภายใน ๑๐ นาทีหลังจากตรวจพบ

– MOSPA (Ministry of Security and Public Administration) ทั้งหมด ๒ บูท ได้แก่

บูทที่ ๑ ระบบ On-Nara BPS คือนวัตกรรมล่าสุดของสาธารณรัฐเกาหลีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบของรัฐบาลให้มีระบบแบบแผนมากยิ่งขึ้น On-Nara BPS เป็นระบบบริหารจัดการของรัฐบาลที่อำนวยความสะดวกในกระบวนการเอกสารและการ บริหารจัดการแบบ On-line ซึ่งเป็นเสมือนระบบหลัก ที่ช่วยให้การบริหารจัดการด้านอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพและสามารถเชื่อมโยงกัน ได้ ระบบ On-Nara BPS เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ โดยมีหน่วยงานรัฐบาลที่ใช้งานถึง ๕๔ หน่วยงาน   

สำหรับระบบกลยุทธ์ในการออกแบบ คือ ใช้งานง่าย (User friendly) มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ (Useful Information) มีข้อมูลที่ทันเวลา (Timely Information) ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ (Time Efficient) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication)

ส่วนการทำงานของระบบ On-Nara BPS จะสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการวางแผน (Planning) การดำเนินงาน (Implementation) การประเมินผล (Evaluation) และข้อเสนอแนะ (Feedback) ระบบ On-Nara BPS ประกอบด้วย ๒ ส่วนหลัก คือ ระบบจัดการงาน (Task Management) และระบบจัดการเอกสาร (Document Management)

บูทที่ ๒ ระบบให้บริการประชาชน (MinWon24) เป็นเว็บไซต์ของรัฐบาลที่มีลักษณะเป็นบริการอิเล็กทรอนิกส์ให้ประชาชนแบบ เบ็ดเสร็จ (One-stop on-line service) ที่ให้บริการทั้งชาวเกาหลี ชาวต่างชาติ และผู้พิการซึ่งเป็นการให้บริการตั้งแต่การกรอกแบบฟอร์มร้องขอรับบริการ (Application) กระบวนการขอรับบริการ (Processing) และการออกหนังสือต่างๆ (Issuance) โดยให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ สื่อสารเคลื่อนที่ ซึ่งสามารถให้บริการประชาชนได้ทุกที่ทุกเวลา ลักษณะบริการหลักคือ เป็นช่องทางหลักของข้อมูลการให้บริการประชาชน ครอบคลุม กระบวนการขอรับบริการ การออกหนังสือต่างๆ และการทบทวน เป็นการบูรณาการบริการประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ รวมทั้งบริการตรวจสอบและออกใบรับรองกรณีเปลี่ยนที่อยู่อีกด้วย ระบบ Minwon24 เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ โดยมีประเภทการให้บริการมากกว่า ๑,๐๐๐ ประเภทและการออกใบรับรองมากกว่า ๗๐๐ ประเภท ซึ่งเป็นการให้บริการแบบ On-line ผู้ขอรับบริการสามารถส่งเอกสาร และรับผลได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่ราชการเพื่อดำเนินเรื่อง ทำให้ช่วยลดงานในการบริหารจัดการและลดการใช้กระดาษได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงโดยปกติการบูรณาการบริการที่มีอยู่จะดำเนินการพร้อมกันหลายๆ บริการเป็นบริการแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้ผู้ขอรับบริการได้รับความสะดวกและเป็นบริการที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้ขอรับบริการไม่ต้องเดินทางไปติดต่อส่วนราชการอื่นๆ ด้วยตนเอง ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงเว็บพอร์ทัล Minwon24 เพียงขั้นตอนเดียว ระบบ Minwon24 เป็นการให้บริการร่วมกันซึ่งมีการลงทะเบียนและจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องใน รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งหน่วยงานราชการจะเข้าถึงข้อมูล e-Record Library ซึ่งจัดเก็บเอกสารที่จำเป็นสำหรับผู้ขอรับบริการ ทำให้ขั้นตอนการขอรับบริการมีความคล่องตัวและสะดวกสบาย

นอกจากนี้คณะได้เยี่ยมชม Guro District office โดยสำนักงานเขต Guro เป็นอีกหนึ่งในการพัฒนางานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ประสบความสำเร็จ โดยในการเข้าเยี่ยมชมสถานที่ดังกล่าวได้รับการนำเสนอข้อมูล เกี่ยวกับงานทางด้านการสนับสนุนอุตสาหกรรมด้านขนาดย่อม, งานทางด้านรักษาความปลอดภัยจากการใช้กล้อง CCTV และ งานทางด้านการให้บริการภาคประชาชนที่ครอบคลุมทั่วประเทศในการขอเอกสารใน การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฏร์ และ เอกสารทางด้านการศึกษา โดยมีอุปกรณ์ตู้ KIOS ในการให้บริการเอกสารต่างๆ ประชาชนสามารถใช้บริการเหมือนกับร้านถ่ายเอกสารบวกกับสำนักงานของรัฐ

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.639993209372366.1073741913.100000850770441&type=1&__rev=1024226