อีจีเอ-ไอซีที จัดสัมมนาวิชาการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์/ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ นานาชาติ และการประชุมวิชาการนานาชาติ เชิงปฏิบัติ


13 March 2558
749

สัมมนาวิชาการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์/ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ นานาชาติ ครั้งที่ ๑ และการประชุมวิชาการนานาชาติ เชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสถาบันการศึกษา ครั้งที่ ๑ หรือ the 1st International e-Government/CIO Forum and the 1st International Academia Workshop โดยมีสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU เป็นผู้สนับสนุนหลัก และได้รับการสนับสนุนร่วมจาก International Academy of CIO (IAC), Electronic Government Agency (EGA), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ CIO16 Association of Thailand ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ ห้อง Sapphire 101-104 (IMPACT FORUM Building) และ ห้องวายุภักษ์ ๖ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ โดยมี นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานในครั้งนี้ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

สำหรับการสัมมนาดังกล่าวนี้ เป็นการส่งเสริมความร่วมมือในระดับโลกระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และสถาบันการศึกษา ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งในปัจจุบัน ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ต่อการพัฒนา การประยุกต์ การใช้ประโยชน์ และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในทั่วโลก โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการกว่า ๓๕๐ คน

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.638892136149140.1073741909.100000850770441&type=1

————————————————————————————————————————

ข่าวประชาสัมพันธ์

ไอซีทีประกาศขอติดท็อป ๑๐ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์โลก เร่งผลักทุกปัจจัยเต็มกำลัง ชูยุทธศาสตร์ รวมศูนย์ระบบไอที พร้อมตั้งกรมทะเบียนกลางดูแลทะเบียนประเทศ ๙๑ หมวด วาเซดะเผยปีใหม่ปรับระบบวัด เพิ่มอีก ๓ หมวด ชี้ไทยได้เปรียบ
 
นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า การจัดการสัมมนาวิชาการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศนานาชาติ ครั้งที่ ๑ และการสัมมนาวิชาการนานาชาติเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสถาบันการศึกษา ครั้งที่ ๑ ในงาน ITU 2013 ที่จัดโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EGA ในครั้งนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะขยับการจัดอันดับของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของไทยจากอันดับที่ ๒๐ ของโลกขึ้นไปติดอันดับหนึ่งในสิบได้
 
ซึ่งการขับเคลื่อนทั้งระบบภาครัฐจะต้องเข้ามาใช้ทรัพยากรส่วนกลางที่จัดวางไว้ ตั้งแต่ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งไปจนถึงระบบ Big Data ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผสานเข้ากับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่น อย่างระบบ Government Information Network หรือ GIN ที่กำลังขยายเข้าสู่หน่วยงานท้องถิ่นมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์มือถือซึ่งได้รับสัมปทานระบบ 3G ก็ยังสามารถวางระบบครอบคลุมพื้นที่ที่มากขึ้น ก็จะส่งผลให้อันดับของประเทศไทยจะขยับขึ้นไปแน่นอน
 
“การเร่งสร้างกลุ่ม CIO หรือผู้บริหารระบบไอทีภาครัฐ ให้มีความสามารถควบคุมระบบ e-government ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือเป็นหนึ่งในหมวดที่ทางผู้จัดอันดับให้ความสำคัญ ซึ่งขณะนี้บุคลากรด้านนี้ของไทยถือว่าเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมาก และมีประสิทธิภาพที่ดี” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว
 
นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ในภาคปฏิบัติของการขยับอันดับของ e-government ไทยขึ้นสู่หนึ่งในสิบของโลกนั้นคาดว่าภายใน ๓ ปีทางกระทรวงฯ จะดำเนินการให้สำเร็จ โดยจะผลักดันปัจจัยต่างๆ ไปพร้อมกันตั้งแต่การใช้ทรัพยากรด้านไอทีแบบรวมศูนย์ หรือ Centralization ผ่านระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง และอื่นๆ ซึ่งจากนี้ไปภาคราชการจะไม่สามารถลงทุนใน ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนองค์กรได้เองอีกแล้ว แต่ต้องมาใช้ทรัพยากรส่วนกลางโดยไม่มีการตัดงบประมาณ เท่ากับหน่วยงานต่างๆ สามารถนำงบลงทุนด้านไอทีไปใช้ในส่วนอื่นๆ แทน
 
นอกจากนั้นการรวมศูนย์ครั้งนี้ยังทำให้การดูแลรักษาความปลอดภัยทำได้ง่าย ขึ้น เพราะเป็นการดูแลจากจุดเดียว และทำให้การขยายระบบไปยังส่วนภูมิภาคเกิดประสิทธิภาพผ่านทางศูนย์ไอซีที ชุมชน ทั้งหมดสามารถเกิดขึ้นได้ภายใน ๑ ปี
สิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวเร่งให้เกิดขึ้นได้รวดเร็วก็คือ การตั้งกรมทะเบียนกลางให้เกิดขึ้นและใช้งานได้จริง โดยหน่วยงานนี้จะรวบรวมงานทะเบียนจำนวน ๙๑ เรื่องที่มีอยู่ในประเทศไทยเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งนอกจากจะทำให้ประเทศไทยเกิดผู้เชี่ยวชาญในเรื่องระบบทะเบียนแล้วยัง สามารถนำระบบทะเบียนทั้งหมดเข้ามาอยู่จุดเดียวทำให้บริการประชาชนได้ง่าย ขึ้น โดยในขั้นต้นจะให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาสนับ สนุนแล้วค่อยโอนย้ายบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลในที่สุด
 
ดร. โตชิโอ โอบิ ประธาน  IAC, ผู้อำนวยการโครงการจัดลำดับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ เปิดเผยว่า ในการประชุมครั้งนี้ทางวาเซดะได้เพิ่มดังนีชี้วัดตัวใหม่สำหรับรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ขึ้น จากเดิมใช้ตัวชี้วัดเพียง ๗ ชนิด ได้เพิ่มตัวชี้วัดขึ้นอีก ๓ ชนิดคือ ระบบ Cyber Security หรือการวางระบบความปลอดภัยโลกไซเบอร์ของภาครัฐ, Open Government หรือรัฐบาลระบบเปิด ซึ่งภาครัฐจะต้องเปิดเผยทั้งข้อมูลและ api ให้ภาคประชาชนเข้าถึงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น และสุดท้ายคือ การเชื่อมโยงภาครัฐจากส่วนกลางและท้องถิ่นเข้าหาพื้นที่ในส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น
 
จากการเริ่มต้นของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ของประเทศไทย ในการทำระบบคลาวด์คอมพิวติ้งและอื่นๆ จะทำให้ไทยเข้าสู่ระบบรวมศูนย์กลาง ส่งผลให้การควบคุมระบบความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการเริ่มทำระบบ Open Government ซึ่งจะเห็นผลให้ปีหน้า รวมถึงการต่อ เชื่อมระบบ GIN กลายเป็น Super GIN และการใช้ศูนย์ไอซีทีเป็นตัวกระจายความรู้ใหม่ ก็จะทำให้ตัวชี้วัดเหล่านี้มีผลในทางที่ดีขึ้น

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.638892136149140.1073741909.100000850770441&type=1