อีจีเอ มอบประกาศนียบัตร หลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูงของไทย (ซีอีโอ) รุ่น ๑


25 July 2557
1153

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มอบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) รุ่นที่ ๑ หรือ CEO (Chief Executive Officer)
 

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เห็นชอบให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการโครงการอบรมหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้โดยตรง รวมทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (อีจีเอ) ภายใต้กำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดงานมอบประกาศนียบัตร โครงการอบรมหลักสูตร “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) รุ่นที่ ๑ หรือ CEO (Chief Executive Officer)” ซึ่งจัดการอบรมมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ด้วยการอบรมและศึกษาดูงานในประเทศ จำนวน 7 ครั้ง การศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศ (ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี) จำนวน 1 ครั้ง โดยมี  นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดอภิปราย เรื่อง แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และ กล่าวให้โอวาท และมอบประกาศนียบัตร ผู้สำเร็จหลักสูตรดังกล่าว และ กล่าวรายงานโครงการอบรมหลักสูตรฯ โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และรายงานนำเสนอแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และประธานรุ่นหลักสูตร “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) รุ่นที่ 1” เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557 ณ ห้อง เลอ โลตัส 2 โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ 

สำหรับการจัดอบรมหลักสูตรดังกล่าว เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหาร จัดการภายในองค์กรและการนำข้อมูลทางสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการให้เกิด ความถูกต้องและรวดเร็ว และ เพื่อให้ผู้บริหารภาครัฐสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหาร จัดการงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ ขององค์กรรวมถึงใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนขับเคลื่อนองค์กรสู่การ บริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและใช้งานได้ง่าย และ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ ติดตาม และกำกับดูแล ช่วยในการตัดสินใจตามมาตรฐานสากล ตลอดจน เพื่อให้ผู้บริหารสามารถในการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Information Literacy) ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานองค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลอื่นใดที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควรเข้ารับการอบรมหลัก สูตรดังกล่าว จำนวน 25 ท่าน

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า “รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติให้เป็นประธาน พิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1” ในวันนี้ 

จากคำกล่าวรายงานของผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. จะเห็นได้ว่า จากภารกิจหนึ่งของ สรอ. ที่มุ่งเน้น ส่งเสริม สนับสนุน และจัดอบรมเพื่อยกระดับทักษะความรู้ความสามารถด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552-2556 ที่เน้นการพัฒนาองค์ประกอบทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกๆ ด้าน อาทิ ทักษะความรู้ของผู้บริหาร โครงสร้างพื้นฐาน ระบบการบริหารจัดการ รวมถึงการสนับสนุนการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล และมีมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)] เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการโครงการอบรมหลักสูตรนี้

ทุกท่านในที่นี้ ล้วนอยู่ในฐานะตำแหน่งที่มีบทบาทของการเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ซึ่งเป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์ และวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กรให้เป็นไปทิศทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร หน่วยงาน และการบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง

อย่างไรก็ดี ในการส่งเสริมรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจสำคัญมากของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการความร่วมมือกัน อย่างจริงจัง และต่อเนื่องอาทิ ทิศทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร ยุทธศาสตร์และการวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ ระบบการให้บริการประชาชน เป็นต้น 

สำหรับหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูงของสำนักงาน รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ที่ท่านได้ศึกษาไปแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ตามนโยบาย ของรัฐบาล ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทักษะความรู้กับวิทยากรผู้ทรงวุฒิ และผู้เข้าอบรมด้วยกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างเครือข่ายในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของ ประเทศ อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานรัฐบาลชั้นนำของโลก” 

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “ตามที่มีการจัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. หน่วยงานภายใต้กำกับดูแลของกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร โดยมีภารกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่ (1) พัฒนา บริหารจัดการ และให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่ เกี่ยวกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (2) ศึกษา วิจัย พัฒนา และเสนอแนะแนวทาง มาตรการ และมาตรฐานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (3) ให้คำปรึกษา บริการด้านวิชาการ และบริหารจัดการโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยว ข้องกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (4) ส่งเสริม สนับสนุน และจัดอบรมเพื่อยกระดับทักษะความรู้ความสามารถ ด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง และตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 เห็นชอบให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)] เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการโครงการจัดอบรมหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง สืบเนื่องตามภารกิจหลักด้านที่ 4 และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สรอ. จึงได้จัดโครงการอบรมหลักสูตร รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
 

  • เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหาร จัดการภายในองค์กรและการนำข้อมูลทางสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการให้เกิด ความถูกต้องและรวดเร็ว
  • เพื่อให้ผู้บริหารภาครัฐสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหาร จัดการงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ ขององค์กรรวมถึงใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนขับเคลื่อนองค์กรสู่การ บริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและใช้งานได้ง่าย
  • เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ ติดตาม และกำกับดูแล ช่วยในการตัดสินใจตามมาตรฐานสากล
  • เพื่อให้ผู้บริหารสามารถในการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Information Literacy)
  • โดยสรอ. ได้จัดการอบรมและศึกษาดูงานขึ้น ในระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2556  ถึงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 รวมจำนวน 9 ครั้ง มีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ สนใจเข้าร่วมโครงการฯ และสำเร็จการอบรมหลักสูตรในรุ่นที่ 1 นี้ จำนวนทั้งสิ้น 19 ท่าน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น สรอ. จึงได้จัดให้มีพิธีมอบประกาศนียบัตร เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสำเร็จหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 นี้ พร้อมทั้งจัดให้มีเปิดอภิปราย เรื่อง แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของผู้บริหารสูงของหน่วยงานภาค รัฐ จากโครงการอบรมนี้ รวมถึงตัวอย่างแนวทางการบริหารจัดการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้”

    ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และประธานรุ่นหลักสูตร “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) รุ่นที่ 1” กล่าวว่า “ในฐานะผู้แทนของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหาร รุ่นที่ 1” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ถึงวันที่ 13 มีนาคม 2557  โดยในระหว่างการอบรมประเทศทุกศุกร์ช่วงบ่าย รวมถึงศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ระหว่างวันที่ 5-12 กุมภาพันธ์ 2557  ซึ่งคณะผู้เข้ารับการอบรมฯ ได้สรุปประเด็นความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมฯ สำหรับนำเรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และท่านผู้มีเกียรติซึ่งประชุมอยู่ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ดังนี้  

    ข้อเสนอแนะภาพรวมปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อน E-Government ของประเทศไทย

    ข้อมูลผลสำรวจด้านศักยภาพทางด้านการสร้างประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินของทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน จากองค์กรสากลหลายองค์กรรวมถึง สหประชาชาติ (United Nation) สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการจัดการ (International Management Development) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union) World Economic Forum และ มหาวิทยาลัยวาเซดะ  (Waseda University) สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีการพัฒนาในเชิงถดถอยหากเปรียบเทียบกับประเทศใน กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ได้คะแนนประเมินในระดับใกล้เคียงกันซึ่ง ประกอบไปด้วย ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนามที่ได้รับการประเมินศักยภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลเชิงดัชนีดังกล่าวส่งผลให้เกิดการวิพากษ์ด้านปัญหาอุปสรรคที่เกิด ขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพ E-Government ในบริบทของประเทศไทย โดยจากมุมมองของผู้เข้าหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับ สูง รุ่นที่ ๑ได้กล่าวถึงประเด็นที่เป็นอุปสรรคของการขับเคลื่อนรัฐอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ของประเทศไทยไว้ว่าประกอบไปด้วย 

  • ด้านนโยบายในการขับเคลื่อน E-Government
    1. 1 การขาดนโยบายด้าน e-Government ที่ชัดเจนซึ่งที่มาแผนการกำหนดทิศทางการพัฒนา E-Government นั้นอยู่ในลักษณะของภาพย่อยซึ่งแตกต่างในประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นที่มี การกำหนดแผนการพัฒนา E-Government อย่างเป็นรูปแยกจากแผนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของชาติ
    1.2 การขาดภาพรวมของทิศทางเชิงนโยบายที่ชัดเจนส่งผลให้หน่วยงานราชการมีการกำหนด แผนการพัฒนา E-Government บนพื้นฐานความต้องการ ศักยภาพ และความพร้อมของแต่ละหน่วยงาน ส่งผลให้ในปัจจุบันศักยภาพของ E-Government ของหน่วยงานราชการไทยนั้นมีความแตกต่างและหลากหลายกันอย่างมาก
    1.3 การส่งเสริมให้หน่วยงานราชการมีการปรับตัวในการพัฒนา E-Government จากหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบนั้น ยังขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการผลักดันให้หน่วยงานราชการให้ ความสำคัญกับการพัฒนา E-Government 

     
  • การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างการทำงานร่วมกัน (Interoperability)
    2.1 เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพของ E-Government นั้นต้องอาศัยการบูรนาการข้อมูลข้ามหน่วยงาน แต่สำหรับองค์กรภาครัฐไทยนั้น มีวัฒนธรรมของการหวงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานส่งผลให้แนวคิดในการบูรนาการ ข้อมูลระหว่างหน่วยงานเป็นไปอย่างล่าช้า
    2.2 นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญในการพัฒนารูปแบบการให้บริการบน electronic platform ซึ่งต้องใช้งานร่วมกัน ทั้งนี้เนื่องจากหน่วยงานราชการมีรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่แตกต่างกัน

     
  • ด้านกฎระเบียบและการสนับสนุนด้านงบประมาณการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
    3.1 กฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะของ E-Government

     
  • ด้านบทบาทของ CIO ประจำหน่วยงานราชการ
    4.1 เนื่องจากการขาดความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการสรัางประโยชน์ต่อ องค์กร การกำหนดทิศทางการพัฒนา E-Government ซึ่งเป็นบทบาทของ CIO ส่วนใหญ่จึงถูกชี้นำโดยผู้อำนวยการ ICT ส่งผลให้เกิดการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT มากการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการให้บริการ ดังแนวทางที่สนับสนุนการสร้างความเข้าใจของ CIO คือการ การสร้างเครือข่าย CIO เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างCIO ทั้งในระดับกระทรวง กรม และจังหวัด

     
  • ด้านทรัพยากรมนุษย์และการบริหารการเปลี่ยนแปลง
    5.1 เนื่องจากข้าราชการส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นข้าราชที่มีอายุสูงดังนั้นจึงมี การต่อต้านของคนรุ่นในการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการดำเนินงานและการให้บริการประชาชน แนวทางการแก้ไขที่สำคัญคือควรมีการกำหนดแนวทางและรูปแลลในการสร้างการยอมรับ และการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้กับหน่วยงานภาครัฐเพื่อใช้เป็นแนวทางในการ พัฒนาสู่การเป็น e-government
    5.2 จำนวนและศักยภาพของบุคลากรในองค์กรที่ต้องทำหน้าที่ในการจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศ ในปัจจุบันมีจำนวนไม่เพียงพอส่งผลให้การขับเคลื่อนในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เมื่อต้องใช้ระบบเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นไปอย่างล่าช้า

     
  • ด้านความแตกต่างของโครงสร้างและการดำเนิน E-Government ของหน่วยงานราชการ
    6.1 เนื่องจากในปัจจุบันหน่วยงานราชการได้มีการพัฒนารูปแบบและการดำเนินงานบน electronic platform ที่แตกต่างหลากหลาย เช่น มีการพัฒนา e-office ที่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรมีการกำหนด Template และ Platform ที่เป็นกลางเพื่อช่วยให้การบูรนาการข้อมูลระหว่างในอนาคตเป็นไปได่อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่ง สรอ. ควรทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการกำหนดรูปแบบเหล่านี้ให้หน่วยงานราชการ
  • ข้อเสนอแนะ แนวทางในการขับเคลื่อน E-Government ของประเทศไทย

    จากอุปสรรคหลายประการเบื้องต้นผู้เข้าร่วมรัฐบาลอิเลคทรอนิกส์สำหรับผู้ บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 ได้เสนอกรอบแนวคิดและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อน E-Government ของประเทศไทย ในลักษณะภาพรวม (Holistic View) ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ด้านคือ 
     

  • ด้านการกำหนดทิศทางเชิงนโยบาย
  • ด้านการขับเคลื่อนของหน่วยงานราชการ
  • ด้านของการสนับสนุน
  • (แผนภาพ : ภาพรวมการขับเคลื่อน E-Government ของประเทศไทย) 

  • การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
    การกำหนดแนวทางในบูรณาการที่อาศัยการขับเคลื่อนในระดับนโยบายอย่างชัดเจนและ เป็นรูปธรรม พร้อมการส่งเสริมการดำเนินงานด้าน E-Government ในลักษณะการสร้างเครือข่าย โดยมีหน่วยงานสนับสนุนในการจัดการกับข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งให้ความรู้กับหน่วยงานราชการจะสามารถส่งเสริมให้การพัฒนา E-Government ของหน่วยงานราชการไทยมีการขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    – การกำหนดทิศทางและแนวทางในการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
    – กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควรกำหนด National E-Government Development Plan ซึ่งมีประเด็นคลอบคลุมในด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
    – การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ของหน่วยงานราชการในรูปแบบต่าง ๆ ในรูปแบบของ Roadmap ที่มีการกำหนดผลสัมฤทธิ์ในลักษณะ Milestone และแนวทางการปฏิบัติ  (Action Plan) อย่างเป็นรูปธรรม
    – การส่งเสริมให้หน่วยงานราชการ มีการกำนหนดแผนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละหน่วยงาน โดยให้แนวทางการพิจารณารูปแบบและบทบาทของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
    – การกำหนดแนวทางในขับเคลื่อนด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้คำรับรองปฏิบัติราชการ และการใช้ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators: KPIs) ทั้งในลักษณะตัวชี้วัดเฉพาะหน่วยงาน และตัวชี้วัดร่วม (Joint Key Performance Indicators) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติการร่วมกัน (Interoperability)
    – การกำหนดโครงสร้างหน่วยงานรับผิดชอบอย่างชัดเจนที่จะทำหน้าที่ดำเนินการ ตัดสินใจโดยเฉพาะด้านการขับเคลื่อนเชิงงบประมาณ การติดตามประเมินผล พร้อมทั้งให้คำแนะนำหน่วยงานราชการในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง
    – การกำหนดรูปแบบการผลักดันการมีส่วนรวมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
    – การประเมินประสิทธิภาพในการส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานราชการมีการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการขององค์กรภาครัฐ

     
  • การขับเคลื่อนในระดับองค์กร
    ประเด็นข้อจำกัดที่สำคัญของหน่วยงานราชการในการพัฒนาศักยภาพด้าน รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่การตระหนักถึงควาสำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วน เสียในการขอใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนในการดำเนินงาน การให้บริการและการขอรับบริการ และความยินยอมในการบูรณาการการดำเนินงาน (Interoperability) 
    2.1 การจัดกลุ่มหน่วยงานราชการ (Clustering Government Agencies)
    การจัดกลุ่มหน่วยงานราชการแยกตามลักษณะและรูปแบบการดำเนินงานโดยเฉพาะหน่วย งานราชการที่สามารถสร้างประโยชน์จากแนวคิดของ E-Government ร่วมกัน จะเป็นการผลัดดันให้หน่วยงานราชการเห็นถึงความสำคัญที่ได้จากการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีในการดำเนินงาน เปิดโอกาสในการเรียนรู้ รวมถึงสามารถเสนอข้อคิดร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการสร้างประโยชน์จากเทคโนโลยี สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    2.2การกำหนดแนวทางการสร้างความตระหนักด้านความต้องการการปรับตัวของหน่วยงานราชการ (Driven Forces)
    แนวทางเบื้องต้นในการสร้างความเข้าใจถึงความต้องการในการพัฒนา รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้น สามาถขับเคลื่อนได้ใน 2 ลักษณะ
    – การกระตุ้นการพัฒนาด้านการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากมุมมองของผู้รับบริการ (Customer Driven Approach)
    – การกระตุ้นการพัฒนาด้านการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากมุมมองของต้น ทุนในการดำเนินงาน และต้นทุนในการพัฒนา (Cost Driven Approach)

     
  • บทบาทของหน่วยงานสนับสนุน
    การพัฒนาสู่การเป็นองค์กรที่มีการดำเนินงานภายใต้หลักคิดของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์นั้น จำเป็นต้องอาศัย สรอ.ทำหน้าที่ประสานงานและขับเคลื่อนในประเด็น
    3.1 การสนับสนุนในด้านองค์ความรู้และสร้างความเข้าใจ
    การสื่อสารและสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานราชการถึงแนวทางการพัฒนาและการขับเคลื่อน E-Government 
    – การกำหนด Template Module และ Platform พร้อมทั้งนำเสนอในลักษณะ Shopping Lists เพื่อใช้เป็นแนวทางการประยุตก์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานและให้ บริการของหน่วยงานภาครัฐ
    – การสื่อสารและสร้างความเข้าใจด้านกฎระเบียบจัดจ้างซื้อจัดจ้างกับการพัฒนาทางด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
    – การสื่อสารและความเข้าใจด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานภาครัฐ
    3.2 การสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
    – การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและการพัฒนาศักยภาพของ CIO
    – การส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเชิงปฏิบัติทั้งในระดับบริหารและปฏิบัติการ ของหน่วยงานราชการโดยให้ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานรัฐอิเลคทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อคิดเห็นในการพัฒนา E-Government แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ
    – การจัดแนวทางในการขับเคลื่อนทรัพยากร (Resource Mobility) ทั้งจากภาคการศึกษาและภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน E-Government ในหน่วยงานราชการ
    – สนับสนุนการการสร้างเครือข่าย CIO ในหน่วยงานราชการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางในการพัฒนา E-Government
    – ประสานงานกับหน่วยงานด้านกำลังคนเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนากำลังคนด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้กับหน่วยงานราชการ
  • ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานของหน่วยงานภาค รัฐชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ 
    https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.690538787651141.1073741928.100000850770441&type=1