รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


16 October 2566
196
รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นี้ DGA จัดทำเพื่อสำรวจความพึงพอใจกลุ่มผู้ใช้บริการ จำนวนทั้งหมด 1,994 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มภาคประชาชน ซึ่งจะสำรวจความพึงพอใจในการใช้บริการและสำรวจความต้องการของประชาชนในการใช้บริการภาครัฐรูปแบบดิจิทัล  โดยจะนำผลที่ได้จากการสำรวจตลาดมาใช้ในการวางแผนการกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และบริการของ DGA รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการให้บริการของ DGA ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริการที่ทำการสำรวจ

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 1 กลุ่มบริการในการสำรวจความพึงพอใจทั้งภาครัฐและภาคประชาชน

ความพึงพอใจต่อบริการของ DGA ปีงบประมาณ 2566 ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของทุกบริการอยู่ที่ 4.25 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบผลคะแนนความพึงพอใจโดยรวมในปี 2566 เทียบกับปี 2565 พบว่าได้รับผลความพึงพอใจรวมที่สูงขึ้น

ระดับคะแนนความพึงพอใจ

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 2 ภาพรวมผลการสำรวจความพึงพอใจต่อบริการ DGA ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

บริการที่มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุดในภาครัฐ คือ สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) หลักสูตรผู้บริหาร โดยมีคะแนนอยู่ที่ 4.52 คะแนน ตามมาด้วย e-Saraban 4.31 คะแนน และ GDX 4.30 คะแนนตามลำดับ และสำหรับบริการภาคประชาชน Info.go.th ได้รับคะแนนความพึงพอใจสูงสุดที่ 4.36 คะแนน ตามมาด้วย แอปพลิเคชันทางรัฐ 4.28 คะแนน และ Data.go.th 4.26 คะแนนตามลำดับ

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยผลการสำรวจความพึงพอใจภาพรวมทุกบริการเปรียบเทียบปี 2566 กับ 2565

พบว่าคะแนนความพึงพอใจบริการ DGA เพิ่มขึ้นเกือบทุกบริการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.11 คะแนนจากปี 2565 มีเพียง GIN เพียงบริการเดียวที่ได้คะแนนลดลงจากปี 2564 (ลดลง -0.24 คะแนน) นอกจากนี้ คณะวิจัยได้ทำการสำรวจบริการที่แตกต่างจากปี 2565 เล็กน้อย โดยไม่ได้มีสำรวจบริการ MailGoThai แต่ได้ทำการสำรวจระบบท้องถิ่นดิจิทัลแทน ซึ่งเป็นบริการที่ทำการสำรวจเป็นปีแรก

1. ผลสำรวจความพึงพอใจของบริการ DGA กลุ่มเป้าหมายหน่วยงานภาครัฐ

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 4 เปรียบเทียบความพึงพอใจรวมรายบริการ กลุ่มเป้าหมายภาครัฐปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กับ 2566

จากคะแนนความพึงพอใจประจำปีงบประมาณ 2566 พบว่า คะแนนความพึงพอใจโดยรวมของบริการ DGA ของกลุ่มเป้าหมายหน่วยงานภาครัฐ มีคะแนนเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2565  (เพิ่มขึ้น 0.09 คะแนน) สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของคะแนนเกือบทุกบริการที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า มีเพียงบริการ GIN เพียงบริการเดียวที่ได้คะแนน 4.18 คะแนน ซึ่งน้อยกว่าปี 2565 (ลดลง -0.24 คะแนน) ส่วนระบบท้องถิ่นดิจิทัลเป็นบริการใหม่ที่ทำการสำรวจในปี 2566 เป็นครั้งแรก โดยระบบท้องถิ่นดิจิทัล (ผู้ดูแลระบบ) และระบบท้องถิ่นดิจิทัล (ผู้ใช้บริการ) มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 4.14 และ 4.10 คะแนน ตามลำดับ นอกจากนี้บริการที่ได้คะแนนความพึงพอใจสูงสุด คือ บริการ GDX ซึ่งได้คะแนน 4.30 คะแนน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนในเชิงบวกนั้น ได้แก่ คุณภาพของระบบที่ดี และบริการติดตั้งที่รวดเร็วและความเป็นมืออาชีพ เป็นต้น

1.1 GIN : เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 5 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ GIN

หน่วยงานมีความพึงพอใจโดยรวมต่อระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (GIN) ที่ลดลง ซึ่งเกิดจากความพึงพอใจที่ลดลงในบางด้าน ได้แก่ กระบวนการก่อนการติดตั้ง และกระบวนการหลังการติดตั้ง โดยภาพรวมความพึงพอใจโดยรวมต่อระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (GIN) มีค่าช่องว่าง (Gap) ที่ -0.24 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 ด้านที่มีค่าช่องว่าง (Gap) มากที่สุดที่ 0.31 คือ ขั้นตอนหลังการติดตั้ง รองลงมาคือ ระยะการใช้บริการระบบเครือข่าย โดยมีค่าช่องว่าง (Gap) ที่ 0.02

1.2 DG-Link: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 6 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ DG-Link

ภาครัฐมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐาน (Digital Government Secure Link : DG-Link) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของความพึงพอใจที่ในบางด้าน ได้แก่ ระยะการใช้บริการระบบเครือข่าย และขั้นตอนหลังการติดตั้ง ดังนั้น โดยภาพรวมต่อการใช้บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐาน (Digital Government Secure Link : DG-Link) มีค่าช่องว่าง (Gap) ที่ 0.10 ในทางตรงกันข้าม เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 ด้านที่มีค่าช่องว่าง (Gap) ลดลงมากที่สุดที่ -0.34 คือ ด้านกระบวนการก่อนการติดตั้ง รองลงมาคือ กระบวนการติดตั้ง โดยมีค่าช่องว่าง (Gap) ที่ -0.12

1.3 GDX: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 7 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ GDX

เมื่อพิจารณาความพึงพอใจจะพบว่า ด้านกระบวนการติดตั้ง และด้านขั้นตอนหลังการติดตั้ง เป็นด้านที่เริ่มมีการสำรวจความพึงพอใจในปี 2566 ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ความพึงพอใจปี 2566 กับผลการสํารวจปี 2565 พบว่า ภาครัฐมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้บริการระบบศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (GDX) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของความพึงพอใจที่ในบางด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ดังนั้น โดยภาพรวมต่อการใช้บริการระบบศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (GDX) มีค่าช่องว่าง (Gap) ที่เพิ่มขึ้น 0.12 และด้านที่มีค่าช่องว่าง (Gap) เพิ่มมากที่สุดที่ 0.13 คือ ด้านกระบวนหลังการติดตั้ง

1.4 Data.go.th: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 8 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ Data.go.th

ความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้บริการระบบศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ Open Government Data (Data.go.th) ได้คะแนนความพึงพอใจปี 2566 โดยรวมที่ 4.16 คะแนน โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 0.40 คะแนน ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของความพึงพอใจที่ในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์มีช่องว่าง (Gap) ที่ 0.68 คะแนน

1.5 ระบบท้องถิ่นดิจิทัล (ผู้ดูแลระบบ): ความพึงพอใจโดยรวมปี 2566

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 9 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อระบบท้องถิ่นดิจิทัล (ผู้ดูแลระบบ)

ภาครัฐมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้บริการระบบท้องถิ่นดิจิทัล (Digital Government Platform) พบว่า คะแนนความพึงพอใจโดยรวมของบริการระบบท้องถิ่นดิจิทัล (Digital Government Platform) อยู่ที่ 4.14 คะแนน โดยด้านที่รับคะแนนความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านกระบวนการติดตั้งที่ 4.26 คะแนน รองลงมาคือ ด้านระยะการใช้บริการที่ 4.11 คะแนน และด้านกระบวนการก่อนการติดตั้งที่ 4.09 คะแนน

1.6 e-Saraban: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 10 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ e-Saraban

ความพึงพอใจด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ปี 2566 กับผลการสํารวจปี 2565 พบว่า หน่วยงานมีความพึงพอใจโดยรวมต่อระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Saraban) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ด้าน 0.20 คะแนน โดยด้านที่มีการเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ด้านคุณภาพและความถูกต้องของการจัดการเอกสารโดยมีค่าช่องว่าง (Gap) ที่ 0.41 คะแนน รองลงมาคือ ประสิทธิภาพในการแยกหมวดหมู่เอกสาร มีค่าช่องว่าง (Gap) ที่ 0.34 คะแนนในทางตรงกันข้ามด้านที่มีการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ ด้านความง่ายต่อการใช้งาน มีค่าช่องว่าง (Gap) ที่ 0.08 คะแนน

1.7 TDGA หลักสูตรผู้บริหาร: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 11 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ TDGA (หลักสูตรผู้บริหาร)

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระดับคะแนนจากผลการสำรวจความพึงพอใจประจำปี 2566 กับปี 2565 ของ TDGA หลักสูตรผู้บริหาร พบว่า หน่วยงานมีระดับคะแนนความพึงพอใจปี 2565 ในภาพรวมที่ระดับคะแนน 4.49 คะแนน ในขณะที่มีระดับความพึงพอใจปี 2566 ในภาพรวมที่ระดับคะแนน 4.52 คะแนน โดยมีความแตกต่างระหว่างคะแนนความพึงพอใจโดยรวมปี 2565 และคะแนนความพึงพอใจโดยรวมปี 2566 ที่ 0.03

1.8 TDGA e-Learning: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 12 ระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของพนักงาน Contact Center ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

สำหรับบริการสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) กลุ่มผู้เข้าร่วมการอบรมผ่านระบบ เรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning) พบว่า หน่วยงานมีระดับคะแนนความพึงพอใจปี 2565 ในภาพรวมที่ระดับคะแนน 4.02 คะแนน ในขณะที่มีระดับความพึงพอใจปี 2566 ในภาพรวมที่ระดับคะแนน 4.29 คะแนน โดยมีความแตกต่างระหว่างคะแนนความพึงพอใจโดยรวมปี 2565 และคะแนนความพึงพอใจโดยรวมปี 2566 ที่ 0.27

1.9 ระบบท้องถิ่นดิจิทัล (ผู้ใช้บริการ): ความพึงพอใจโดยรวมปี 2566

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 13 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อระบบท้องถิ่นดิจิทัล (ผู้ใช้บริการ)

จากการสำรวจ ยังไม่สามารถวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ความพึงพอใจด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ปี 2566 กับผลการสํารวจปี 2565 พบว่า เนื่องจากบริการนี้สำรวจปีแรกเลยไม่ได้มีเปรียบเทียบกับปีก่อน โดยหน่วยงานมีความพึงพอใจโดยรวมต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ของระบบท้องถิ่นดิจิทัล Digital Government Platform ปี 2566 มีคะแนน 4.10 โดยด้านที่มีคะแนนมากที่สุดคือ ด้านความสามารถเข้าถึงได้จากหลากหลายช่องอุปกรณ์และความปลอดภัยต่อการใช้งานระบบ มีคะแนน 4.21 ความเร็วและประสิทธิภาพของระบบ มีคะแนน 4.07 ความเสถียรของระบบ มีคะแนน 4.02 และความง่ายต่อการใช้งาน มีคะแนน 4.00

2. ผลสำรวจความพึงพอใจของบริการ DGA กลุ่มเป้าหมายภาคประชาชน

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 14 เปรียบเทียบความพึงพอใจรวมรายบริการ กลุ่มเป้าหมายภาคประชาชนปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กับ 2566

จากคะแนนความพึงพอใจประจำปีงบประมาณ 2566 พบว่า คะแนนความพึงพอใจโดยรวมของบริการจาก DGA กลุ่มเป้าหมายภาคประชาชน มีคะแนนเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2565 (เพิ่มขึ้น +0.17 คะแนน) สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของคะแนนในทุกบริการบริการได้แก่ Info.go.th, Data.go.th, Biz Portal, GovSpending, Citizen Portal และ Law Portal โดยบริการที่ได้คะแนนความพึงพอใจสูงสุด คือ บริการ Info.go.th ซึ่งได้คะแนน 4.36 คะแนน ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนในเชิงบวกนั้น ได้แก่ ความง่ายต่อการใช้งาน และประสิทธิภาพในการแยกหมวดหมู่ข้อมูลที่ดี เป็นต้น

2.1 Info.go.th: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 15 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ Info.go.th

การดําเนินการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชนที่ใช้บริการศูนย์รวมข้อมูล เพื่อติดต่อราชการ Info.go.th พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจภาพรวมต่อบริการ Info.go.th เพิ่มขึ้นทุกด้าน โดยมีความแตกต่างความพึงพอใจ ปี 2566 กับปี 2565 ในภาพรวมที่ +0.02 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างความพึงพอใจปี 2566 กับปี 2565 พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านความสามารถในการเข้าถึงได้จากหลากหลายอุปกรณ์ ที่ระดับ +0.33 ทั้งนี้

2.2 Data.go.th: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 16 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ Data.go.th

การดําเนินการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชนที่ใช้บริการศูนย์กลาง ข้อมูลเปิดภาครัฐ Open Government Data (Data.go.th) พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจภาพรวมต่อบริการ Data.go.th เพิ่มขึ้นทุกด้าน โดยมีความแตกต่างความพึงพอใจ ปี 2566 กับปี 2565 ในภาพรวมที่ +0.10 เมื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างความพึงพอใจปี 2566 กับปี 2565 พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจ มากที่สุด คือ ความสามารถในการเข้าถึงได้จากหลากหลายอุปกรณ์ ที่ระดับ +0.25

2.3 Biz Portal: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 17 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ Biz Portal

การดําเนินการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชนที่ใช้บริการศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจภาพรวมต่อบริการ Biz Portal มีความแตกต่างความพึงพอใจ ปี 2566 กับปี 2565 ในภาพรวมที่ +0.21 เมื่อเปรียบเทียบความ แตกต่างความพึงพอใจปี 2566 กับปี 2565 พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้าน ความง่ายในการดาวน์โหลดข้อมูล ที่ระดับ +0.42 ทั้งนี้

2.4 GovSpending: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 18 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ GovSpending

การดําเนินการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชนที่ใช้บริการภาษีไปไหน (GovSpending) พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจด้านการเข้าถึงบริการต่อบริการ GovSpending เพิ่มขึ้นเกือบทุกด้าน โดยมีความแตกต่างความพึงพอใจ ปี 2566 กับปี 2565 ในภาพรวมที่ +0.15 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างความพึงพอใจปี 2566 กับปี 2565 พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความง่ายต่อการใช้งานที่ระดับ +0.43

2.5 Law Portal: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 19 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ Law Portal

การดําเนินการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชนที่ใช้บริการระบบกลางทางกฎหมาย (Law Portal) พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจด้านการเข้าถึงบริการต่อบริการ Law Portal เพิ่มขึ้น โดยมีความแตกต่างความพึงพอใจ ปี 2566 กับปี 2565 ในภาพรวมที่ +0.12 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างความพึงพอใจปี 2566 กับปี 2565 พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความเร็วและประสิทธิภาพของระบบที่ระดับ +0.26

2.6 Citizen Portal: เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมประจำปี 2566 กับผลการสํารวจย้อนหลังปี 2565

รายงานผลสํารวจความพึงพอใจในการให้บริการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 20 ความพึงพอใจปี 2566 ต่อ Citizen Portal

การดําเนินการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชนที่ใช้บริการ แอปพลิเคชันทางรัฐ Citizen Portal พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ของบริการ Citizen Portal เพิ่มขึ้นทุกด้าน โดยมีความแตกต่างความพึงพอใจ ปี 2566 กับปี 2565 ในภาพรวมที่ +0.46 เมื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างความพึงพอใจปี 2566 กับปี 2565 พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความง่ายของการใช้งานที่ระดับ +0.47

3. ผลสำรวจความพึงพอใจ DGA Contact Center

ภาพที่ 21 แสดงผลสำรวจความพึงพอใจ DGA Contact Center ปีงบประมาณ 2566

ระดับความพึงพอใจปี 2566 ต่อ DGA Contact Center ปีงบประมาณ 2566 โดยรวมคือ 4.10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2565 0.04 คะแนน โดยด้านที่มีคะแนนสูงที่สุดได้แก่ ความเชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้คะแนน 4.10 ส่วนด้านที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ามากที่สุด คือ ด้านความสะดวกในการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งปัญหาหรือขอคำปรึกษา 

กล่าวโดยสรุป ผลคะแนนความพึงพอใจปี 2566 กับปีที่ผ่านมา พบว่า บริการกลุ่มภาครัฐ มีคะแนนสูงขึ้นทุกบริการยกเว้น GIN โดยบริการที่มีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุดได้แก่ TDGA หลักสูตรผู้บริหาร ซึ่งได้คะแนนความพึงพอใจ 4.52 คะแนน และยังพบอีกว่าบริการที่มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากปี 2565 มากที่สุด คือ Data.go.th ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 0.40 คะแนน บริการกลุ่มภาคประชาชน มีคะแนนสูงขึ้นทุกบริการ
โดยบริการที่มีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุดได้แก่ Info.go.th ซึ่งได้คะแนนความพึงพอใจ 4.36 คะแนน และยังพบอีกว่าบริการที่มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากปี 2565 มากที่สุด คือ บริการแอปพลิเคชันทางรัฐ (Citizen Portal) โดยกลุ่มผู้ใช้บริการภาคประชาชน มีคะแนนความพึงพอใจโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 0.46 คะแนน

คะแนนความพึงพอใจของ Contact Center มีคะแนนความพึงพอใจ 4.10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 0.04 คะแนน ซึ่งมาจากคะแนนที่เพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านความสะดวกในการติดต่อซึ่งเพิ่มมากที่สุดจากปีก่อนหน้า